ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เป็นที่รู้กันว่า ฤดูฝนในประเทศเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทยมักมาพร้อมกับโรคระบาดขาประจำอย่าง ไข้เลือดออก และ ไข้หวัดใหญ่ ทำให้ทุกครั้งที่เรามีอาการป่วย ไข้ขึ้นสูงเป็นเวลาหลาย ๆ วัน เรามักจะเกิดความกังวลและสับสนว่า เรากำลังป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดาที่มีอาการหนัก หรือรุนแรงกว่านั้น ซึ่งถ้ารุนแรงกว่านั้น ความเป็นไปได้ที่เราพอจะคาดเดาได้ ก็คือเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไม่ก็เป็นไข้เลือดออก นั่นเอง เพื่อให้การสำรวจอาการด้วยตนเองมีความแม่นยำมากกว่าเดิม วันนี้คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจจะมาแบ่งปันความรู้กับคนในชุมชน ว่าไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ มีอาการชัดเจนที่สังเกตได้เป็นอย่างไร และเหมือนหรือแตกต่างจากอีกโรคหนึ่งอย่างไร อาการทั่วไปของโรคไข้เลือดออก ไข้เลือดออกเกิดจากการถูกยุงที่มีเชื้อไวรัส “เดงกี” กัด และเมื่อผ่านเวลาไปประมาณ 8 – 12 วัน เชื้อไวรัสจะฟักตัวและแพร่เข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกยุงกัด ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในที่สุด แน่นอนว่า อาการที่สังเกตได้ของโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยแต่ละรายมักแตกต่างกัน และสามารถสังเกตได้ ดังนี้: มีไข้สูงเฉียบพลันเป็นเวลา 2 – 7 วัน มีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วย มีอาการซึมจากการเจ็บป่วย และมีเลือกกําเดา ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเกิดภาวะไข้เลือดออกช็อก ซึ่งมีอาการ ปลายมือปลายเท้าเย็น ความดันโลหิตต่ำ ไข้ลดอย่างรวดเร็ว เป็นต้น …
ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? Read More »