September 2021

ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน: รักษาและป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชน

หลาย ๆ ครัวเรือนในชุมชนอาจจะกำลังเผชิญกับความยากลำบากจากการที่มีบุคคลในครอบครัวได้รับเชื้อโควิด-19 และยังไม่สามารถเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ อีกทั้งที่บ้านก็ยังไม่มีพื้นที่ หรือห้องส่วนตัวให้ทำการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) อีกด้วย จากปัญหาดังกล่าว จึงทำให้เกิดแนวทางการจัดตั้ง ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) เพื่อให้บริการช่วยเหลือครัวเรือนที่กำลังประสบปัญหา โดยช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยและลดโอกาสการแพร่กระจายของโรคในชุมชนอีกด้วย ศูนย์แยกกักตัวในชุมชนเหมาะกับใคร? ศูนย์แยกกักตัวในชุมชนเป็นสถานที่ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ได้รับเชื้อโควิด-19 ในชุมชนที่มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วจนเกินขีดความสามารถในการดูแลของสถานพยาบาลในท้องที่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการวินิจฉัยที่รวดเร็ว ลดการเสียชีวิต และลดการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว* ซึ่งรู้ผลการติดเชื้อจากการตรวจทั้งแบบเก็บตัวอย่างเชื้อในลำคอ RT-PCR ที่สถานพยาบาลและการตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองโดยการใช้ Antigen Test Kit *ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คือผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ระดับออกซิเจนในเลือดไม่ต่ำกว่า 96% ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่รับกลิ่น ลิ้นไม่รับรส ไม่มีอาการหายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก และไม่มีอาการปอดอักเสบ คุณสมบัติของผู้ป่วยที่เหมาะสม ได้แก่: ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจำวัน เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการจัดเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว เป็นชาวต่างชาติที่สามารถสื่อสารกับอาสาสมัครได้ หรือไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยต้องยอมรับเงื่อนไขการเข้ารับการรักษาในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ผู้ป่วยต้องไม่มีปัญหาสุขภาพจิต …

ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน: รักษาและป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 ในชุมชน Read More »

สปสช. แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยง รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่างรอรับวัคซีนโควิด-19

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เชิญชวนประชาชนใน 7 กลุ่มเสี่ยง* พร้อมทั้ง 3 กลุ่มเสี่ยงใหม่ อันได้แก่: บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 กลุ่มที่อยู่สถานที่มีการรวมตัวของประชากรจำนวนมาก เสี่ยงต่อการระบาด กลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ขึ้นกับสถานการณ์ ให้เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในระหว่างรอรับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อน รวมถึงลดระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลหากได้รับเชื้อโควิด-19 *ประชาชนใน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่: หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์เกินกว่า 4 เดือน เด็กที่มีอายุ 6 เดือนจนถึง 2 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน) ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมองหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยโรคธารัสซีเมีย และผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV) โรคอ้วน (มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป/ …

สปสช. แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยง รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่างรอรับวัคซีนโควิด-19 Read More »

10 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโควิด-19

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะอยู่กับเรามาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี แต่ก็ยังมีบางเรื่องที่หลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรค ไม่ว่าจะเป็นวิธีการป้องกันการติดเชื้อ หรือวิธีรักษาตัวให้หายจากการติดเชื้อ และวันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลเบื้องต้น ที่หลายคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อให้ทุกคนในชุมชนเข้าใจและสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น 1. พ่นแอลกอฮอล์ใส่ร่างกาย สามารถฆ่าเชื้อไวรัสในร่างกายได้ การพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์บนสิ่งของ บริเวณต่าง ๆ ของบ้าน หรือบริเวณฝ่ามืออาจช่วยฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ แต่การพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์บนร่างกายไม่สามารถฆ่าเชื้อที่เข้าไปอยู่ในร่างกายแล้วได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตาและปาก 2. เชื้อโควิด-19 สามารถแพร่ผ่านสินค้าที่ผลิตในประเทศที่มีรายงานการระบาดได้ จริงอยู่ที่เชื้อไวรัสสามารถอยู่บนพื้นผิวสิ่งของได้หลายชั่วโมง แต่สภาพแวดล้อมในการเคลื่อนย้าย รวมถึงอุณหภูมิระหว่างขนส่งก็ทำให้ไวรัสอยู่ได้ยาก อีกความหมายหนึ่งคือ ไวรัสโควิด-19 อาจจะตายในหว่างขนส่งจากต่างประเทศ แต่นั่นไม่ได้ยืนยันว่า จะไม่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 ปนเปื้อนบนกล่องพัสดุขณะนำส่งในประเทศไทย ดังนั้น จึงควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง และล้างมือหลังสัมผัส 3. เชื้อโควิด-19 สามารถแพร่ผ่านการถูกยุงกัดได้ เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายผ่านฝอยละอองจากการไอ จาม หรือน้ำลายของผู้ป่วย ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าเชื้อโควิด-19 สามารถแพร่กระจายผ่านยุง แต่อย่างไรก็ตามการถูกยุงกัดก็อาจนำมาซึ่ง ไข้เลือดออก ดังนั้น ทางที่ดีก็ควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษไม่ให้ถูกยุงกัดด้วย …

10 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโควิด-19 Read More »