June 2022

โรคหอบหืด ป้องกัน-ลดความรุนแรงได้ หากควบคุมสาเหตุและรักษาอย่างถูกวิธี

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือน ผู้มีอาการของโรคหอบหืด หมั่นสังเกตอาการและดูแลตนเองเป็นพิเศษในช่วงที่กำลังเข้าสู่ฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ ทำความรู้จัก โรคหอบหืดคืออะไร ? โรคหอบหืด ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ที่มีความไวต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของโรค โดยสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ทั้งในและนอกครัวเรือน เช่น มลพิษทางอากาศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เชื้อโรค ไรฝุ่น แมลงสาบ เกสรหญ้า วัชพืช ฝุ่นควัน น้ำหอม น้ำยา สารเคมี หรือสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ เป็นสิ่งที่กระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ของผู้ป่วยโรคหอบหืด ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆ เช่น ไอ หายใจไม่สะดวก มีเสียงหวีด เหนื่อยหอบ ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนและช่วงเช้ามืด หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์อย่างถูกต้อง การอักเสบเรื้อรังของหลอดลมนี้อาจนำไปสู่การเกิดพังผืดและการหนาตัวอย่างมาก มีผลทำให้มีการอุดกั้นของหลอดลมอย่างถาวร ปัจจุบัน โรคหอบหืดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและเคร่งครัด ในขณะเดียวกัน …

โรคหอบหืด ป้องกัน-ลดความรุนแรงได้ หากควบคุมสาเหตุและรักษาอย่างถูกวิธี Read More »

กรมอนามัย ชวนผู้ปกครอง อ่านหนังสือ-เล่นกับบุตรหลาน กระตุ้นพัฒนาการ

การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับผู้ปกครอง มีส่วนอย่างมากในการสร้างเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปฐมวัย (อายุน้อยกว่า 5 ปี) ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญ และให้เวลากับบุตรหลาน ในการทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ เล่นเกมส์เพื่อฝึกสมอง หรือกิจกรรมอื่น ๆ เด็กปฐมวัยไทย มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและภาษาต่ำที่สุดจากทั้ง 4 ด้าน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการสำรวจ พบเด็กปฐมวัยไทย (อายุต่ำกว่า 5 ปี) มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 92.3 และพบว่า เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาและภาษาต่ำที่สุดจากทั้ง 4 ด้าน อยู่ที่ร้อยละ 61 ในเด็กผู้ชาย และร้อยละ 64 ในเด็กผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีฐานะยากจน จะมีปัจจัยส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาและภาษาต่ำไปด้วย อ่านหนังสือ-เล่นกับบุตรหลาน ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสติปัญญาและภาษา นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เนื่องจากเด็กทุกคนเป็นผู้ชี้อนาคตของประเทศไทย เด็กที่มีพัฒนาการสมวัย จะมีเชาวน์ปัญญาดี และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ …

กรมอนามัย ชวนผู้ปกครอง อ่านหนังสือ-เล่นกับบุตรหลาน กระตุ้นพัฒนาการ Read More »

เรียนรู้-ทำความเข้าใจ ปลดล็อกกัญชา ใช้ไม่ดีมีโทษกับหลายระบบในร่างกาย

แม้ว่ากัญชา จะเป็นสมุนไพรที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาอาการ หรือโรคต่าง ๆ และถูกทำให้ใช้ได้อย่างถูกกฎหมายแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 65 ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม การทำให้ถูกกฎหมายไม่ได้แปลว่าการใช้กัญชา ‘ปลอดภัย’ นอกเหนือจากคุณประโยชน์ทางการแพทย์ ทุกคนควรเรียนรู้-ทำความเข้าใจ ถึงความอันตรายจากการใช้กัญชา ตลอดจนความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ต่อร่างกายอีกด้วย โดยวันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับภาวะไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการใช้กัญชาอย่างผิดวิธี เรียนรู้-ทำความเข้าใจ อาการที่อาจเกิดขึ้นหากใช้กัญชา ในระยะแรก กัญชาจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้ใช้ตื่นตัว ร่าเริง หัวเราะง่าย ช่างพูด พูดคนเดียว ยิ้มคนเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไป 1 – 2 ชั่วโมง จะเริ่มออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้มีอาการคล้ายกับคนเมาเหล้า หน้าแดง ลิ้นไก่พันกัน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ซึม และง่วงนอน หากใช้กัญชาในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อหมดฤทธิ์จะทำให้ผู้ใช้มีอารมณ์อ่อนไหว เลื่อนลอย สมองสั่งงานช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม …

เรียนรู้-ทำความเข้าใจ ปลดล็อกกัญชา ใช้ไม่ดีมีโทษกับหลายระบบในร่างกาย Read More »