November 2022

เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงหรือไม่?​

ประเด็นที่ว่า แอลกอฮอล์ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ยังคงเป็นวลีที่ถูกส่งต่อบนสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนาน หรือเป็นการพูดเพื่อส่งต่อชุดความเข้าใจผิด ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ และจากประเด็นที่มีการพูดคุยกันบนสังคมออนไลน์ว่า ดื่มแอลกอฮอล์จะไม่ติดเชื้อโควิด-19 และดื่มทุกวันได้ผลดีกว่าออกกำลังกาย เป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้ทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบชุดข้อมูลดังกล่าว และชี้แจงว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง ทำให้เม็ดเลือดขาวฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่ และมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การรวมกลุ่มเพื่อดื่มสังสรรค์จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วยที่มีประวัติดื่มสุรา ติดเชื้อ โควิด-19 และเข้ารับการรักษา ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการถอนสุรารุนแรง ต้องสังเกตอาการใกล้ชิด บางรายต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง พบมีความเสี่ยงต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตสูงเมื่อเทียบกับคนไข้ที่ไม่มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์  ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ช่วยป้องกันโรค โควิด-19 ดังนั้น พี่น้องในชุมชน ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันโรค โควิด-19 และไม่ส่งต่อชุดข้อมูลดังกล่าวให้พี่น้องในชุมชนคนอื่น ๆ …

เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงหรือไม่?​ Read More »

อันตราย! เดินลุยน้ำเท้าเปล่า เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนู

โรคไข้ฉี่หนู หรือ โรคฉี่หนู เป็นอีกหนึ่งโรคคุ้นหูที่แวะเวียนกลับมาทุกปีในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นโรคที่มักระบาดในบริเวณที่เกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในบ้างพื้นที่ของประเทศไทยยังไม่หายไป วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคไข้ฉี่หนู ว่าคืออะไร เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร และเราจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ โรคไข้ฉี่หนู ได้อย่างไร หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง สาเหตุของ โรคไข้ฉี่หนู โรคไข้ฉี่หนู มักพบมากในช่วงฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียเลปโตสไปรา ที่ปนมากับปัสสาวะของสัตว์นำโรค ได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข โดยเชื้อดังกล่าวจะไหลลงสู่แหล่งน้ำ หนองน้ำ หรือบริเวณที่เป็นดินชื้นแฉะ และจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้นานเป็นเดือน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากการสัมผัสกับน้ำหรือดินโคลนที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเชื้อจะสามารถไชเข้าทางผิวหนังที่อ่อนนุ่ม มีแผล หรือผ่านทางเยื่อบุตา จมูก และปาก จากการลงแช่น้ำ ลุยน้ำ ย่ำดินโคลน โดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน อาการของ โรคไข้ฉี่หนู หลังจากติดเชื้อประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ …

อันตราย! เดินลุยน้ำเท้าเปล่า เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนู Read More »

เช็กก่อนแชร์: กินอาหารค้างคืน อุ่นไมโครเวฟ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

จากวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบมากขึ้น ทำให้การใช้ไมโครเวฟเพื่ออุ่นอาหารที่ซื้อมาตั้งแต่วันก่อนหน้า กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ มีการส่งต่อข้อมูลผ่านทางสังคมออนไลน์ว่า การอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ประเด็นดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันความรู้ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน การอุ่นซ้ำ และรับประทานอาหารค้างคืน “ไม่เกี่ยวข้อง” กับการเกิดโรคมะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า การรับประทานอาหารค้างคืน และนำกลับมาอุ่นซ้ำ ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง ทว่า ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรักษาอาหารที่ไม่ถูกวิธี เช่น ซื้ออาหารแช่แข็งมาเก็บในตู้เย็นที่มีความเย็นไม่เพียงพอ ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตจนสร้างสารพิษขึ้นมา หากทานอาหารเหล่านั้นเข้าไป ก็จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้ อาหารที่ทำทิ้งไว้นาน และถูกนำมาอุ่นซ้ำ อาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง รวมถึงมีรสชาติเปลี่ยนไป ดังนั้น การรับประทานอาหารค้างคืน โดยการนำกลับมาอุ่นซ้ำ ควรคำนึงถึงอุณหภูมิของการเก็บรักษา และการอุ่นด้วยความร้อนอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ รับประทานอาหารสดใหม่ เลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ แม้ว่าวิถีชีวิตในปัจจุบันของเราอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรับประทานอาหาร เราควรรับประทานอาหารที่สดใหม่ ไม่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ …

เช็กก่อนแชร์: กินอาหารค้างคืน อุ่นไมโครเวฟ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่? Read More »

“สูบบุหรี่ไฟฟ้า” เสี่ยงโรคปอดอักเสบรุนแรง

บนสังคมออนไลน์ มีการกระจายข้อมูลข่าวสารแบบผิด ๆ ว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่อันตรายต่อสุขภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการสูบบุหรี่มวน อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบรุนแรง โดยมีสาเหตุมาจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเกิดมาจากการที่ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย วันนี้คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน กรมควบคุมโรค ย้ำ บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายต่อสุขภาพ จากการเฝ้าระวังข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ในประเทศไทย พบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในท้องตลาด มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และบางยี่ห้อไม่สามารถระบุสารตั้งต้นในการผลิตได้ อีกทั้งยังมีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง รวมถึงบิดเบือนข้อมูลว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งปัญหานี้ อาจนำไปสู่การเข้าใจผิด และทำให้ประชาชนหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น กรมควบคุมโรค ย้ำว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้า สามารถส่งผลให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจลำบาก ปวดเมื่อยตามตัว รวมถึงอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น หากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือผู้ที่สูดดมควันของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น กรมควบคุมโรค แนะนำว่าให้รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที บุหรี่ไฟฟ้า ‘ไม่ใช่’ สินค้าทางเลือก ในการช่วยเลิกสูบบุหรี่ กรมควบคุมโรค …

“สูบบุหรี่ไฟฟ้า” เสี่ยงโรคปอดอักเสบรุนแรง Read More »

น้ำตาลในเลือดสูง หนึ่งในสาเหตุอาการปลายนิ้วชา พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

จากการที่สังคมไทยปัจจุบัน มีความตึงเครียด เร่งรีบ ความกดดันต่าง ๆ ทำให้คนไทย หันมาบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่มีรสชาติหวาน พี่น้องในชุมชนรู้หรือไม่? จากสถิติในปี พ.ศ. 2560 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่เป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน มากขึ้นทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสมีอาการปลายนิ้วชามากกว่า นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ อดีตนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน (อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ที่นี่) อาจเกิดภาวะเสียหายกับเส้นประสาทบริเวณมือและเท้า นำไปสู่อาการชาปลายนิ้ว บริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้าได้ ซึ่งอาการดังกล่าว พบในผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน วิธีการป้องกัน-รักษา ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับการตรวจปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เช่น ไขมันคลอเลสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอไรด์ งดการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อ้างอิง: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565)

ลอยกระทงอย่างปลอดภัย “ไม่เมา ไม่เก็บ ไม่ปล่อยเด็กตามลำพัง”

พี่น้องในชุมชนรู้หรือไม่? กิจกรรมลอยกระทง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่นำไปสู่การเสียชีวิตมากถึง 60 ราย ตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจจะมาแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงข้อควรปฏิบัติที่ควรทำตาม เพื่อลอยกระทงอย่างปลอดภัยให้ทุกคนได้ทราบกัน อุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตในวันลอยกระทง ระหว่างปี 60-64 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผย กิจกรรมวันลอยกระทง อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตได้ โดยสถานการณ์การจมน้ำในช่วงวันลอยกระทง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560-2564) จากข้อมูลมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เฉพาะในวันลอยกระทงวันเดียว มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 60 คน เฉลี่ยปีละ 12 คน ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงหลังวันลอยกระทงเพียง 1 วัน ของแต่ละปี พบว่ามีอัตราการจมน้ำเสียชีวิตสูงมากกว่าวันลอยกระทงถึง 1 – 2 เท่า กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 45 – 59 ปี (ร้อยละ …

ลอยกระทงอย่างปลอดภัย “ไม่เมา ไม่เก็บ ไม่ปล่อยเด็กตามลำพัง” Read More »