January 2023

เคล็ด(ไม่)ลับ: เสริมสร้างสุขภาพกายที่ดี เริ่มต้นง่าย ๆ เพียงดื่มน้ำเปล่าวันละ 6 – 8 แก้ว

เมื่อพูดถึงการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลายคนอาจมองไปถึงการรับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ปราศจากไขมันต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถเริ่มต้นดูแลสุขภาพกายของเราได้ง่าย ๆ เพียง ดื่มน้ำสะอาด เท่านั้น และวันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ ก็จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดื่มน้ำ ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน ประโยชน์จากการ ‘ดื่มน้ำเปล่า โดยกรมอนามัย การดื่มน้ำที่สะอาดและเพียงพอต่อร่างกาย จะทำให้ระบบต่าง ๆ ได้รับการกระตุ้นและพร้อมที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โลหิตไม่ข้น การไหลเวียนเป็นไปได้ง่าย หัวใจไม่ทำงานหนัก ไม่เมื่อยล้า ไม่เหนื่อยง่าย ลมหายใจสะอาด สดชื่น นัยน์ตาสดใสเป็นประกาย มีน้ำหล่อเลี้ยง ไม่มีเส้นเลือดแดงกล่ำ ไม่แสบตา ลดปัญหาร้อนในและลิ้นสะอาด ผิวกาย ใบหน้าชุ่มชื่น การขับถ่ายของเสียสะดวก ท้องไม่ผูก ไม่ปวดหลังและบั้นเอว สุขภาพไตดี รูขุมขนมีเหงื่อชุ่มเย็นเสมอ เลือก ‘ดื่มน้ำเปล่า’ ในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ เราควรเลือกน้ำดื่มที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่เป็นน้ำที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป การดื่มน้ำอุ่นเล็กน้อยในตอนเช้า จะช่วยทำให้การขับถ่ายดีขึ้น ลำไส้สะอาด ในหนึ่งวัน …

เคล็ด(ไม่)ลับ: เสริมสร้างสุขภาพกายที่ดี เริ่มต้นง่าย ๆ เพียงดื่มน้ำเปล่าวันละ 6 – 8 แก้ว Read More »

เช็กก่อนแชร์: ใช้ปัสสาวะหยอดตา สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตาได้ จริงหรือไม่ ?

กระแสการใช้ปัสสาวะมาเป็นยาวิเศษ ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ยังคงเป็นที่พูดถึงบนสังคมออนไลน์ และมักเป็นความเชื่อที่ถูกส่งต่อ ประเด็นดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้พี่น้องในชุมชนได้ทราบกัน ปัสสาวะคืออะไร ? ปัสสาวะ คือ ของเสียในรูปของเหลวที่ผลิตออกจากไต โดยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกจากท่อปัสสาวะ มีปริมาณ 1 ลิตรต่อวัน มีองค์ประกอบ 95 % เป็นน้ำ 2.5% เป็นยูเรียและที่เหลือประกอบด้วยสารเคมีอื่น ๆ ปัสสาวะอาจมีสีแตกต่างกันตามปริมาณน้ำตั้งแต่ใสไม่มีสี จนถึงสีเข้ม ในกรณีดื่มน้ำน้อยทำให้มีของเสียปะปนกับปัสสาวะมาก โดยทั่วไปปัสสาวะมีความเป็นกรดเล็กน้อย (ph 6.0) อาจมีความเป็นกลางหรือด่างได้ขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม อาหาร หรือยาที่บริโภค โดยมีค่าความเป็นกรดด่างตั้งแต่ 4.6 ถึง 8.0 ข้อเท็จจริงจากกระทรวงสาธารณสุข จากข่าวสารบนสังคมออนไลน์ ที่ว่า สามารถใช้ปัสสาวะใหม่ ๆ หยอดตา เพื่อบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากใช้สายตาหนัก หรือแพ้แสงแดดได้ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกที่น่าเชื่อถือมาอ้างอิงว่ารักษาโรคได้จริง  อันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากใช้ปัสสาวะหยอดตา หากนำปัสสาวะมาหยอดตา อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง …

เช็กก่อนแชร์: ใช้ปัสสาวะหยอดตา สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตาได้ จริงหรือไม่ ? Read More »

วางแผนการรับวัคซีนให้บุตรหลานอย่างเป็นระบบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์

การรับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ให้กับร่างกาย ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคโควิด-19 โดยเราเริ่มรับวัคซีนต่าง ๆ มาตั้งแต่เรายังเด็ก และอาจเด็กจนจำความไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมวัคซีนบางชนิดถึงชื่อไม่คุ้นหูเราเสียเลย วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการรับวัคซีนที่ควรรับในเด็ก ซึ่งผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านอาจไม่คุ้นหู หรือไม่แน่ใจ ตลอดจนมองไม่เห็นความสำคัญของการรับวัคซีนดังกล่าว และคำถามและข้อสงสัยอื่น ๆ มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ! วัคซีนพื้นฐานที่เด็ก ๆ ควรรับ: วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (OPV) วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB) วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ (JE) โดยการรับวัคซีนแต่ละชนิดจะมีความเหมาะสม และการเว้นระยะห่างที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานเข้าพบแพทย์ เพื่อทราบข้อมูลโดยระเอียด ตลอดจนพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคชนิดต่าง ๆ ให้ตรงกับเวลาที่แพทย์นัด คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการรับวัคซีนในเด็ก สามารถพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนก่อนกำหนดได้หรือไม่? คำตอบคือ ไม่ควรรับวัคซีนก่อนวันเวลาที่กำหนด เพราะจะทำให้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเกิดได้ไม่ดีเท่ากับการรับวัคซีนตามเวลาที่กำหนด …

วางแผนการรับวัคซีนให้บุตรหลานอย่างเป็นระบบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์ Read More »

เช็กก่อนแชร์: ตำแหน่งสิวสามารถบ่งบอกโรคได้ จริงหรือไม่ ?

หลายคนอาจเคยได้ยินชุดความคิดที่ว่า ตำแหน่งของสิวบนใบหน้า สามารถบ่งบอกได้ว่าร่างกายเรากำลังมีปัญหาสุขภาพอะไรอยู่ ซึ่งเราก็มักจะฟังหูไว้หู หรือไม่ก็เผลอคล้อยตามชุดความคิดนั้นไป ชุดความคิดดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ให้พี่น้องในชุมชนได้เรียนรู้กัน ! ทำความรู้จักสิว คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร สิว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขนและต่อมเหงื่อ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักจะเกิดมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น กลไกการเกิดสิวเกี่ยวข้องกับการอุดตันของรูขุมขน การผลิตไขมันจากต่อมไขมันที่มากผิดปกติ มีเชื้อก่อโรค Cutibacterium Acnes ที่ผิวหนัง และขบวนการอักเสบของร่างกาย โดยมีปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ ฮอร์โมนโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน ปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย กรดไขมันจำเป็นที่ผิวหนังบางชนิด เป็นตัวส่งเสริมในการเกิดโรค สิว อาจสัมพันธ์กับโรคที่มีความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนเพศซึ่งจะสงสัยมากขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสิวรุนแรง มีสิวช่วงใกล้หรือช่วงที่มีประจำเดือน ร่วมกับมีหน้ามันมาก ขนดก ผมบางจากฮอร์โมน เสียงแหบเหมือนผู้ชาย เป็นต้น ข้อเท็จจริงจาก กระทรวงสาธารณสุข ทางสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลว่า สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของการเกิดสิวในที่ต่าง ๆ ของใบหน้าหรือร่างกายกับความผิดปกติหรือโรคในระบบอื่น ๆ นั้น ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยยืนยันหรือสนับสนุนความผิดปกติในเรื่องดังกล่าว เช็กก่อนแชร์ทุกครั้ง …

เช็กก่อนแชร์: ตำแหน่งสิวสามารถบ่งบอกโรคได้ จริงหรือไม่ ? Read More »