February 2023

เช็กก่อนแชร์: ‘เปิดไฟนอน’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเรา จริงหรือไม่ ?

การนอนหลับ ถือเป็นอีกหนึ่งการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด โดยหลายคนก็ชอบที่จะนอนหลับในห้องมืด ๆ ปิดไฟทุกดวง ในขณะที่บางคน ก็ชอบที่จะเปิดไฟทิ้งไว้เพื่อความอุ่นใจ แต่อย่างไรก็ดี จากประเด็นบนสังคมออนไลน์ที่ว่า การเปิดไฟนอนนั้น ส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร วันนี้คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้ทุกคนได้ทราบกัน ! ข้อเท็จจริงจากกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนว่าการเปิดไฟนอนมีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพทางหัวใจและเมตาบอลิก ทว่า มีการศึกษาในห้องปฏิบัติการ พบว่าทำให้เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเพิ่มขึ้น และภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นในเช้าวันถัดไปเท่านั้น เช็กก่อนแชร์ทุกครั้ง ลดการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารปลอม ดังนั้น ขอให้พี่น้องในชุมชนทุกคนอย่างหลงเชื่อชุดความคิดดังกล่าว ตลอดจนไม่ส่งต่อชุดข้อมูลดังกล่าว และแบ่งปันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้กับคนใกล้ตัวได้รับทราบ อ้างอิง: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2566) อ่านเพิ่มเติม ที่นี่: เช็กก่อนแชร์: ใช้ปัสสาวะหยอดตา สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตาได้ จริงหรือไม่ ? เช็กก่อนแชร์: ตำแหน่งสิวสามารถบ่งบอกโรคได้ จริงหรือไม่ ? เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ …

เช็กก่อนแชร์: ‘เปิดไฟนอน’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเรา จริงหรือไม่ ? Read More »

‘สัญญาณ’ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากพบ ควรพบแพทย์ทันที อันตรายถึงชีวิต

พ่อแม่พี่น้องในชุมชนรู้หรือไม่ ? ปัจจุบัน คนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากที่สุด เป็นอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง โดยจากสถิติพบว่า มีคนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 21,700 ราย/ปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เราควรใส่ใจ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ เลยจะมาแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ให้ทุกคนได้ทราบกัน ! โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากอะไร ? โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการรวมตัวกันของไขมันที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดหัวใจหนาขึ้น ซึ่งไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอล ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและหนาตัวขึ้น ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีอะไรบ้าง ? ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้: ได้แก่ อายุที่มากขึ้น โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าเพศหญิงในวัยที่ยังมีประจำเดือน ในขณะที่วัยหมดประจำเดือนเพศหญิงมีโอกาสเกิดเท่ากับเพศชาย และปัจจัยด้านพันธุกรรมต่าง ๆ ปัจจัยที่ควบคุมได้: ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักเกินมาตรฐาน รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และความเครียด สัญญาณ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีอะไรบ้าง ? ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก เหมือนมีของหนักมาทับในขณะพัก …

‘สัญญาณ’ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากพบ ควรพบแพทย์ทันที อันตรายถึงชีวิต Read More »

“กินหมูดิบ เสี่ยงหูดับ” กรมควบคุมโรคแนะประชาชน กินอาหารปรุงสุก ถูกหลักอนามัย

“หูดับ” หรือ “โรคไข้หูดับ” อาจเป็นคำที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในร้านหมูกระทะ หรือปิ้งย่างต่าง ๆ เวลามีใครสักคนใช้ตะเกียบคู่เดิม คีบหมูดิบไปปิ้ง และคีบมาใส่จานตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรคดังกล่าวจะดูเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง แต่ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่า แท้จริงแล้ว โรคไข้หูดับคืออะไร โดยวันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน   โรคไข้หูดับ คืออะไร ? โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตค็อคคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ในทางเดินหายใจและในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อสู่คนได้ผ่านทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา และการรับประทานเนื้อหมู หรือเลือดของหมูที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ หรือการสัมผัสโดยตรงกับหมูที่ติดเชื้อ ทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมู โรคไข้หูดับ มีอาการอย่างไร ? ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการหลังรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยเฉลี่ยใน 3 วัน โดยมักมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดตามข้อ มีจ้ำเลือดตามตัว ตามผิวหนัง …

“กินหมูดิบ เสี่ยงหูดับ” กรมควบคุมโรคแนะประชาชน กินอาหารปรุงสุก ถูกหลักอนามัย Read More »

ไม่เค็ม ไม่ได้แปลว่าไม่มีโซเดียม ! กรมอนามัย แนะ 5 อาหารซ่อนโซเดียม เน้นย้ำ กินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน

ปัจจุบัน คนไทยมีแนวโน้มบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวันมากขึ้น สืบเนื่องมาจากความชอบกินอาหารรสเค็ม หรือจากความไม่รู้ส่วนประกอบของปริมาณโซเดียมในอาหาร ซึ่งการกินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย กินอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ? องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดมาตรฐานไว้ว่า เราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเทียบเท่า เกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม และเมื่อเฉลี่ยแล้ว ไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร หากกินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าที่ควร อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไตเรื้อรัง ปรับพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดความเสี่ยงโรคร้าย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคถือเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และควรปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เน้นการกินอาหารรสธรรมชาติ เพื่อไม่ให้ติดรสเค็ม เพราะหากติดเป็นนิสัยมาจนโต ทำให้แก้ไขยาก อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเราควรเลี่ยงอาหารรสเค็ม และอาหารชนิดอื่น ๆ ที่อาจไม่มีรสเค็ม แต่เต็มไปด้วยโซเดียม 5 ประเภทอาหาร ที่มีปริมาณโซเดียมแฝงอยู่ เครื่องปรุงรสทั้งที่มีรสเค็มและไม่มีรสเค็ม: …

ไม่เค็ม ไม่ได้แปลว่าไม่มีโซเดียม ! กรมอนามัย แนะ 5 อาหารซ่อนโซเดียม เน้นย้ำ กินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน Read More »