kbkj

‘ไข้เลือดออก’ อันตรายจากยุงลาย วายร้ายคร่าชีวิตตัวจิ๋วที่น่ากลัว

ภัยร้ายที่ระบาดมากในหน้าฝน คงหนีไม่พ้น ‘โรคไข้เลือดออก’ โดยจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2566 (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 – 6 พ.ค. 66) ในประเทศไทย พบผู้ป่วยแล้ว 14,811 ราย เสียชีวิต 13 ราย เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบผู้ป่วยแล้ว 2,672 ราย เสียชีวิต 1 ราย โรคไข้เลือดออก มีสาเหตุมาจากอะไร ? โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน เชื้อไวรัสเดงกี มี 4 ชนิด ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อชนิดใดแล้วจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดชีวิต และจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี อีก 3 ชนิดในช่วงสั้น ๆ ประมาณ 6 – 12 เดือน หลังจากระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดหนึ่งอาจติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดอื่นที่ต่างไปจากครั้งแรกได้ เป็นการติดเชื้อซ้ำ …

‘ไข้เลือดออก’ อันตรายจากยุงลาย วายร้ายคร่าชีวิตตัวจิ๋วที่น่ากลัว Read More »

เฝ้าระวัง โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ระบาดในประเทศไทย หลังเทศกาลสงกรานต์

โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 หรือ “อาร์คตูรุส” มีศักยภาพจะแพร่ระบาดไปทั่วโลกในอนาคตอันใกล้ ขณะที่ ไทยพบผู้ป่วยสายพันธุ์นี้แล้ว 27 ราย มีการพบการกลายพันธุ์ย่อย ๆ ของโควิด-19 สายพันธุ์นี้ และผู้เชี่ยวชาญในไทย คาด สายพันธุ์ XBB.1.16 จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทย เช่นเดียวกับทั่วโลก ในอีกไม่นานนี้ สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน กรมควบคุมโรคเผยตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ช่วงสงกรานต์ พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 435 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจากสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังมีรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบ 30 ราย และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 19 ราย เพิ่มขึ้น 58% และ 36% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยสัปดาห์ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย และล้วนเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วนานเกินกว่า 3 เดือน …

เฝ้าระวัง โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ระบาดในประเทศไทย หลังเทศกาลสงกรานต์ Read More »

คลินิกฯ ใกล้บ้านใกล้ใจ เปิดรับสมัครบุคลากรทางการแพทย์ หลายตำแหน่ง !

คลินิกฯ ใกล้บ้านใกล้ใจ ของเรา กำลังเปิดรับสมัครบุคลากรทางการแพทย์หลายตำแหน่ง (จำนวนมาก !) มาดูแลพี่น้องในชุมชน ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัคร 2 ตำแหน่ง ได้แก่: 1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข   2. พยาบาล (RN)  

เช็กก่อนแชร์: ‘เชื้อมะเร็งกลัวแดด’ ตากแดดทุกวัน ป้องกันมะเร็งได้ จริงหรือไม่ ?

ชุดความคิดที่ว่า ‘เชื้อมะเร็งกลัวแดด’ และการตากแดดทุกวัน สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ถูกส่งต่อกันบนสังคมออนไลน์ ประเด็นดังกล่าวมีข้อเท็จจริงอย่างไร วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน ! ‘ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน’ ว่า แสงแดดป้องกันโรคมะเร็งได้ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า การตากแดดสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ และได้สรุปว่า ชุดความคิดดังกล่าว ‘ไม่เป็นความจริง’ ข้อดี-ข้อเสีย จากการได้รับแสงแดด การได้รับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ระหว่างเวลา 6:00 – 8:00 น. และ 16:00 – 18:00 น. สามารถช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกาย ได้ อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับแสงแดดจัดติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ป้องกัน ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตา ผิวหนังไหม้แดด และอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ คำแนะนำ เกี่ยวกับการรับแสงแดด เราควรรับแสงแดดอ่อน ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามินดี และควรเลี่ยงแสงแดดจัด และการตากแดดเป็นเวลานาน หากจำเป็น ควรสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวปกปิดร่างกาย สวมหมวกปีกกว้าง …

เช็กก่อนแชร์: ‘เชื้อมะเร็งกลัวแดด’ ตากแดดทุกวัน ป้องกันมะเร็งได้ จริงหรือไม่ ? Read More »

‘โรคซึมเศร้า’ ในผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดด้านจิตใจ ที่ต้องได้รับการดูแล

สถิติการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นทุกปี เนื่องจากสภาพแวดล้อมภูมิสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลโดยกรมสุขภาพจิต พบว่า มีผู้สูงอายุฆ่าตัวตายสูง เป็นอันดับ 2 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทว่า หนึ่งในนั้นก็คือการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ฉะนั้น พี่น้องในชุมชนที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ ควรดูแลเอาใจใส่และหมั่นสังเกตอาการของผู้สูงอายุอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า สาเหตุของ โรคซึมเศร้า ในผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีสาเหตุมาจาก พันธุกรรม ลักษณะนิสัย รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต ซึ่งผู้ดูแลหรือคนที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากรู้สึกว่าผู้สูงอายุในบ้าน กำลังเข้าสู่ภาวะของโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสม โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่: ด้านร่างกาย: เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ ทำให้อารมณ์เสียสมดุล ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือการเจ็บป่วยทางร่างกายต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสมองโดยตรง แต่ก็ทำให้รู้สึกเจ็บปวด เครียด หรือเป็นกังวลได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เบาหวาน โรคมะเร็ง หรือแม้กระทั่งผู้พิการ บุคคลทุพพลภาพ ด้านจิตใจ: เมื่อผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียว อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และรู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์ …

‘โรคซึมเศร้า’ ในผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดด้านจิตใจ ที่ต้องได้รับการดูแล Read More »

ลูกหลานเตรียมความพร้อม ! ดูแล 6 ปัญหาสุขภาพ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและอวัยวะระบบต่าง ๆ ของผู้สูงอายุจะเริ่มถดถอยลง เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และโรคต่าง ๆ มากกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องด้วยวันสงกรานต์​ประจำปี พ.ศ. 2566 กำลังใกล้เข้ามา ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจขอแสดงความห่วงใย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความรู้ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ให้ทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ! ความเสื่อมของสติปัญญา เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์สมองจะน้อยลง ขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดในสมองลดลง ตลอดจนภาวะขาดอาหารหรือวิตามินบางชนิด จะมีผลให้ผู้สูงอายุมีความจำเสื่อม หลงลืม นอนไม่หลับ หรือส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น การพลัดหลง อุบัติเหตุ การขาดอาหาร การติดเชื้อ เป็นต้น ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรังทางกาย ขาดสมรรถภาพ และขาดความเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ผู้ป่วยอาจมีอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น ความผิดปกติของการนอน ขาดสมาธิ เบื่ออาหาร ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีความคิดที่จะจบชีวิตตัวเอง อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอด หรือทางเดินปัสสาวะฝ่อและอักเสบ …

ลูกหลานเตรียมความพร้อม ! ดูแล 6 ปัญหาสุขภาพ พบบ่อยในผู้สูงอายุ Read More »

เตรียมพร้อมรับมือ ‘ปัญหาสุขภาพ’ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น

และแล้ว เราก็กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปี ถึงแม้ว่าคนไทยจะคุ้นชินกับสภาพอากาศร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายของเรา ก็ยังคงสามารถเจ็บป่วยได้จากสภาพอากาศร้อน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับ โรค และภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน ! 5 โรคฤดูร้อน รู้ก่อน ระวังตัว-รักษาได้ก่อน โรคอุจจาระร่วง: มีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกเลือดภายใน 24 ชั่วโมง โรคไข้ไทฟอยด์: มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก หรืออาจมีผื่นขึ้นตามหน้าอกหรือลำตัว โรคอาหารเป็นพิษ: มีอาการไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ท้องเสีย อหิวาตกโรค: มีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่ปวดท้อง อาจมีอุจจาระไหลแบบไม่รู้ตัว คลื่นไส้ อาเจียน โรคไวรัสตับอักเสบ เอ: มีอาการไข้อ่อน ๆ เหนื่อยล้า ปวดหัว ปวดท้องบริเวณขวาบน …

เตรียมพร้อมรับมือ ‘ปัญหาสุขภาพ’ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น Read More »

‘โรคอ้วน’ นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงได้

โรคอ้วน เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบ ที่หลายคนอาจมองเป็นแค่ปัญหาด้านภาพลักษณ์ภายนอก คือการที่มีหุ่นไม่ตรงตามพิมพ์นิยม (Beauty Standard) แต่อย่างไรก็ตาม โรคอ้วน หรือภาวะอ้วน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากมาย โดยวันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจของเรา จะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับ #โรคอ้วน ให้ทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้กัน ! โรคอ้วน คืออะไร ? โรคอ้วน คือภาวะที่ร่างกายของเรามีการสะสมไขมันมากเกินไป หรือมากกว่าระดับปกติที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน โดยโรคอ้วนนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่: อ้วนลงพุง: คือ เส้นรอบเอวมากกว่า ส่วนสูง (ซม.) หารด้วย 2 อ้วนทั้งตัว: คือ มีดัชนีมวลกาย* (BMI) มากกว่า หรือเท่ากับ 25 kg/m2 *ดัชนีมวลกาย คำนวนโดยนำ น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง โรคอ้วน เกิดจากอะไร ? โดยมาก สาเหตุของการเกิดโรคอ้วนในผู้ใหญ่มาจากพฤติกรรมส่วนตัว …

‘โรคอ้วน’ นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงได้ Read More »

เช็กก่อนแชร์: ‘เปิดไฟนอน’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเรา จริงหรือไม่ ?

การนอนหลับ ถือเป็นอีกหนึ่งการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด โดยหลายคนก็ชอบที่จะนอนหลับในห้องมืด ๆ ปิดไฟทุกดวง ในขณะที่บางคน ก็ชอบที่จะเปิดไฟทิ้งไว้เพื่อความอุ่นใจ แต่อย่างไรก็ดี จากประเด็นบนสังคมออนไลน์ที่ว่า การเปิดไฟนอนนั้น ส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร วันนี้คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้ทุกคนได้ทราบกัน ! ข้อเท็จจริงจากกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนว่าการเปิดไฟนอนมีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพทางหัวใจและเมตาบอลิก ทว่า มีการศึกษาในห้องปฏิบัติการ พบว่าทำให้เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเพิ่มขึ้น และภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นในเช้าวันถัดไปเท่านั้น เช็กก่อนแชร์ทุกครั้ง ลดการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารปลอม ดังนั้น ขอให้พี่น้องในชุมชนทุกคนอย่างหลงเชื่อชุดความคิดดังกล่าว ตลอดจนไม่ส่งต่อชุดข้อมูลดังกล่าว และแบ่งปันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้กับคนใกล้ตัวได้รับทราบ อ้างอิง: ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มกราคม 2566) อ่านเพิ่มเติม ที่นี่: เช็กก่อนแชร์: ใช้ปัสสาวะหยอดตา สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตาได้ จริงหรือไม่ ? เช็กก่อนแชร์: ตำแหน่งสิวสามารถบ่งบอกโรคได้ จริงหรือไม่ ? เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ …

เช็กก่อนแชร์: ‘เปิดไฟนอน’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเรา จริงหรือไม่ ? Read More »

‘สัญญาณ’ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากพบ ควรพบแพทย์ทันที อันตรายถึงชีวิต

พ่อแม่พี่น้องในชุมชนรู้หรือไม่ ? ปัจจุบัน คนไทยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากที่สุด เป็นอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง โดยจากสถิติพบว่า มีคนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 21,700 ราย/ปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เราควรใส่ใจ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ เลยจะมาแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ให้ทุกคนได้ทราบกัน ! โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากอะไร ? โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการรวมตัวกันของไขมันที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดหัวใจหนาขึ้น ซึ่งไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอล ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและหนาตัวขึ้น ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ ปัจจัยเสี่ยง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีอะไรบ้าง ? ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้: ได้แก่ อายุที่มากขึ้น โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าเพศหญิงในวัยที่ยังมีประจำเดือน ในขณะที่วัยหมดประจำเดือนเพศหญิงมีโอกาสเกิดเท่ากับเพศชาย และปัจจัยด้านพันธุกรรมต่าง ๆ ปัจจัยที่ควบคุมได้: ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักเกินมาตรฐาน รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และความเครียด สัญญาณ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีอะไรบ้าง ? ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก เหมือนมีของหนักมาทับในขณะพัก …

‘สัญญาณ’ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากพบ ควรพบแพทย์ทันที อันตรายถึงชีวิต Read More »