บทความ

ฝีดาษลิง Mpox โรคระบาดใหม่ที่ต้องระวัง สถานการณ์ทั่วโลก

เมื่อ 14 ส.ค. 2567 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เชื้อ เอ็มพ็อกซ์ (Mpox) หรือชื่อเดิมคือ “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว หลังมันแพร่กระจายไปในหลายพื้นที่ของแอฟริกากลางและตะวันออก และนักวิทยาศาสตร์ออกมาแสดงความกังวลถึงเชื้อสายพันธุ์ย่อย ที่กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และมีอัตราเสียชีวิตสูง สถานการณ์โรคทั่วโลก (2022-2024) มีผู้ป่วยยืนยันสะสมราว 99,176 ราย เสียชีวิตสะสม 208 ราย สถานการณ์ฝีดาษลิง Mpox ในไทย ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.2565 ถึง 11 ส.ค.2567 จำนวน  827 ราย ทุกราย เป็นสายพันธุ์ Clade 2 (เคลด 2) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับที่ระบาดในแอฟริกา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนไทย 742 คน  ต่างชาติ 81 คน ไม่ระบุ 4 คน เฉพาะช่วงปี 2567 ตั้งแต่ …

ฝีดาษลิง Mpox โรคระบาดใหม่ที่ต้องระวัง สถานการณ์ทั่วโลก Read More »

5 ทริคง่าย ๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง-01

5 ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง

“ความเครียด”เป็นสภาวะของอารมณ์ของคนที่ต้องเจอกับปัญหาต่างๆ เกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล รู้สึกกดดัน หลายครั้งที่เรามักจะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะคนเรามักจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดไม่เหมือนกัน เพราะเมื่อเกิดความเครียดเราจะแสดงออกมาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพฤติกรรม บางคนหงุดหงิดง่าย บางคนป่วยง่าย บางคนนอนไม่หลับ วันนี้เราจะมาเผยวิธีง่ายๆ กำจัดความเครียด หากเรารู้วิธีจัดการและบรรเทาความเครียดต่างๆ เหล่านั้นได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้เราพร้อมรับมือกับความเครียดได้มากขึ้นกันค่ะ 5 วิธี จัดการความเครียดด้วยตัวเอง ออกกำลังกาย คลายเครียด ถ้าเรารู้ตัวว่ากำลังเครียดอยู่ เราควรยืดเส้นสาย เดินขึ้นลงบันได เพื่อให้เราหลุดโฟกัสเรื่องเครียดบ้าง และออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายปลดปล่อยสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนความสุขออกมา อาจจะไม่ต้องถึงขั้นออกกำลังกายอย่างหนัก แค่เดินเล่น ขยับร่างกายนิดๆ หน่อยๆ ก็ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและสบายตัวมากขึ้นแล้ว นั่งสมาธิ ฝึกจิต ลดเครียด การจมอยู่กับความเครียดอาจทำให้เราไม่อยากทำอย่างอื่นเลย ดังนั้น การแก้ปัญหาง่ายๆ เมื่อรู้สึกวิตกกังวลมากเกินไป ลองฝึกสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ ฝึกกำหนดลมหายใจ จะช่วยให้เราสามารถคิดและพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีสติ ช่วยลดความวุ่นวายในใจ และช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่แย่ได้อย่างมีความสุข จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน ใครๆ ก็อยากมี Work Life Balance ที่นอกจากจะจัดสรรเวลาการทำงานได้แล้ว ก็ยังสามารถจัดการเวลาชีวิตส่วนตัวได้อีกด้วย หลังจากนั้นควรจะหยุดคิดเรื่องงาน …

5 ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง Read More »

วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับผู้สูงอายุ

มอบการป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ผู้สูงอายุได้แล้ววันนี้ รีบพาผู้สูงอายุไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้เพื่อลดอัตราป่วยรุนแรงและเสียชีวิต   ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ ต่างจากไข้หวัดในคนทั่วไปอย่างไร ? โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อย และมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการโดยทั่วไป อาจจะทำให้เป็นไข้ ไอ หรือปวดเมื่อตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะสามารถหายเองได้ในเวลา 3-5 วัน แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และจากข้อมูลในประเทศไทยพบว่า กลุ่มที่มีอัตราการต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสูงที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่คือเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ   สาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence) ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จะเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัสก็ตาม เพราะผู้สูงอายุนั้นจะมีโอกาสสูงที่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย ในภาวะที่ร่างกายเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุล ก็จะเกิด “การอักเสบรุนแรง” (ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน) ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถจะยับยั้งได้ และทำให้เสียชีวิตได้ โรคประจำตัว รักษาไม่หายขาด (Underlying disease) ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการแทรกซ้อน เช่น …

วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับผู้สูงอายุ Read More »

“โรคร้ายที่มากับฝน” อันตรายที่ไม่ควรละเลยเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน

โรคที่มากับหน้าฝน  จากการที่ กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน ปี 2567 แล้วเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา สำหรับปริมาณฝนโดยรวมใกล้เคียงปีที่แล้ว ปลาย พ.ค.-กลาง มิ.ย. มีฝนเพิ่มมากขึ้นและตกต่อเนื่อง เดือน ส.ค.-ก.ย. ฝนตกชุกหนาแน่น จากสภาพอากาศดังกล่าวทำให้เรามีความจำเป็นต้องทราบว่ามีโรคอะไรบ้างที่มากับหน้าฝนนี้ เพื่อที่จะได้เตรียมการป้องกันและดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกันครับ 1.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคนี้จะพบได้มากที่สุดในช่วงหน้าฝน  สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการได้รับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศ โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายมาก ผ่านการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อไวรัส หรือสัมผัสกับน้ำมูกที่ปนเปื้อนเชื้อโรค  มีหลายโรคด้วยกัน โดยโรคที่พบบ่อยได้แก่ 1.1 โรคไข้หวัด หรือไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อกว่า 200 ชนิด อาการสามารถหายได้เองใน 3 – 4 วัน หากผู้ป่วยดูแลตนเองอย่างถูกต้อง 1.2 โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ …

“โรคร้ายที่มากับฝน” อันตรายที่ไม่ควรละเลยเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน Read More »

‘ไข้เลือดออก’ อันตรายจากยุงลาย วายร้ายคร่าชีวิตตัวจิ๋วที่น่ากลัว

ภัยร้ายที่ระบาดมากในหน้าฝน คงหนีไม่พ้น ‘โรคไข้เลือดออก’ โดยจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2566 (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 – 6 พ.ค. 66) ในประเทศไทย พบผู้ป่วยแล้ว 14,811 ราย เสียชีวิต 13 ราย เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบผู้ป่วยแล้ว 2,672 ราย เสียชีวิต 1 ราย โรคไข้เลือดออก มีสาเหตุมาจากอะไร ? โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน เชื้อไวรัสเดงกี มี 4 ชนิด ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อชนิดใดแล้วจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดชีวิต และจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี อีก 3 ชนิดในช่วงสั้น ๆ ประมาณ 6 – 12 เดือน หลังจากระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดหนึ่งอาจติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดอื่นที่ต่างไปจากครั้งแรกได้ เป็นการติดเชื้อซ้ำ …

‘ไข้เลือดออก’ อันตรายจากยุงลาย วายร้ายคร่าชีวิตตัวจิ๋วที่น่ากลัว Read More »

เฝ้าระวัง โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ระบาดในประเทศไทย หลังเทศกาลสงกรานต์

โควิด-19 สายพันธุ์ XBB.1.16 หรือ “อาร์คตูรุส” มีศักยภาพจะแพร่ระบาดไปทั่วโลกในอนาคตอันใกล้ ขณะที่ ไทยพบผู้ป่วยสายพันธุ์นี้แล้ว 27 ราย มีการพบการกลายพันธุ์ย่อย ๆ ของโควิด-19 สายพันธุ์นี้ และผู้เชี่ยวชาญในไทย คาด สายพันธุ์ XBB.1.16 จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทย เช่นเดียวกับทั่วโลก ในอีกไม่นานนี้ สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน กรมควบคุมโรคเผยตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ช่วงสงกรานต์ พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 435 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย ถือว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าจากสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังมีรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบ 30 ราย และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 19 ราย เพิ่มขึ้น 58% และ 36% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยสัปดาห์ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย และล้วนเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วนานเกินกว่า 3 เดือน …

เฝ้าระวัง โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ระบาดในประเทศไทย หลังเทศกาลสงกรานต์ Read More »

เช็กก่อนแชร์: ‘เชื้อมะเร็งกลัวแดด’ ตากแดดทุกวัน ป้องกันมะเร็งได้ จริงหรือไม่ ?

ชุดความคิดที่ว่า ‘เชื้อมะเร็งกลัวแดด’ และการตากแดดทุกวัน สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ถูกส่งต่อกันบนสังคมออนไลน์ ประเด็นดังกล่าวมีข้อเท็จจริงอย่างไร วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน ! ‘ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน’ ว่า แสงแดดป้องกันโรคมะเร็งได้ จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า การตากแดดสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ และได้สรุปว่า ชุดความคิดดังกล่าว ‘ไม่เป็นความจริง’ ข้อดี-ข้อเสีย จากการได้รับแสงแดด การได้รับแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ระหว่างเวลา 6:00 – 8:00 น. และ 16:00 – 18:00 น. สามารถช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกาย ได้ อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับแสงแดดจัดติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ป้องกัน ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตา ผิวหนังไหม้แดด และอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ คำแนะนำ เกี่ยวกับการรับแสงแดด เราควรรับแสงแดดอ่อน ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามินดี และควรเลี่ยงแสงแดดจัด และการตากแดดเป็นเวลานาน หากจำเป็น ควรสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวปกปิดร่างกาย สวมหมวกปีกกว้าง …

เช็กก่อนแชร์: ‘เชื้อมะเร็งกลัวแดด’ ตากแดดทุกวัน ป้องกันมะเร็งได้ จริงหรือไม่ ? Read More »

‘โรคซึมเศร้า’ ในผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดด้านจิตใจ ที่ต้องได้รับการดูแล

สถิติการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นทุกปี เนื่องจากสภาพแวดล้อมภูมิสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลโดยกรมสุขภาพจิต พบว่า มีผู้สูงอายุฆ่าตัวตายสูง เป็นอันดับ 2 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทว่า หนึ่งในนั้นก็คือการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ฉะนั้น พี่น้องในชุมชนที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ ควรดูแลเอาใจใส่และหมั่นสังเกตอาการของผู้สูงอายุอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า สาเหตุของ โรคซึมเศร้า ในผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีสาเหตุมาจาก พันธุกรรม ลักษณะนิสัย รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต ซึ่งผู้ดูแลหรือคนที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากรู้สึกว่าผู้สูงอายุในบ้าน กำลังเข้าสู่ภาวะของโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสม โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่: ด้านร่างกาย: เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติ ทำให้อารมณ์เสียสมดุล ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือการเจ็บป่วยทางร่างกายต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสมองโดยตรง แต่ก็ทำให้รู้สึกเจ็บปวด เครียด หรือเป็นกังวลได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เบาหวาน โรคมะเร็ง หรือแม้กระทั่งผู้พิการ บุคคลทุพพลภาพ ด้านจิตใจ: เมื่อผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียว อาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และรู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์ …

‘โรคซึมเศร้า’ ในผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดด้านจิตใจ ที่ต้องได้รับการดูแล Read More »

ลูกหลานเตรียมความพร้อม ! ดูแล 6 ปัญหาสุขภาพ พบบ่อยในผู้สูงอายุ

เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและอวัยวะระบบต่าง ๆ ของผู้สูงอายุจะเริ่มถดถอยลง เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และโรคต่าง ๆ มากกว่าวัยอื่น ๆ เนื่องด้วยวันสงกรานต์​ประจำปี พ.ศ. 2566 กำลังใกล้เข้ามา ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจขอแสดงความห่วงใย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความรู้ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ให้ทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ! ความเสื่อมของสติปัญญา เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์สมองจะน้อยลง ขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดในสมองลดลง ตลอดจนภาวะขาดอาหารหรือวิตามินบางชนิด จะมีผลให้ผู้สูงอายุมีความจำเสื่อม หลงลืม นอนไม่หลับ หรือส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น การพลัดหลง อุบัติเหตุ การขาดอาหาร การติดเชื้อ เป็นต้น ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรังทางกาย ขาดสมรรถภาพ และขาดความเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ผู้ป่วยอาจมีอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น ความผิดปกติของการนอน ขาดสมาธิ เบื่ออาหาร ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีความคิดที่จะจบชีวิตตัวเอง อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เกิดจากการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอด หรือทางเดินปัสสาวะฝ่อและอักเสบ …

ลูกหลานเตรียมความพร้อม ! ดูแล 6 ปัญหาสุขภาพ พบบ่อยในผู้สูงอายุ Read More »

เตรียมพร้อมรับมือ ‘ปัญหาสุขภาพ’ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น

และแล้ว เราก็กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่อากาศร้อนที่สุดในรอบปี ถึงแม้ว่าคนไทยจะคุ้นชินกับสภาพอากาศร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายของเรา ก็ยังคงสามารถเจ็บป่วยได้จากสภาพอากาศร้อน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับ โรค และภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน ! 5 โรคฤดูร้อน รู้ก่อน ระวังตัว-รักษาได้ก่อน โรคอุจจาระร่วง: มีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกเลือดภายใน 24 ชั่วโมง โรคไข้ไทฟอยด์: มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก หรืออาจมีผื่นขึ้นตามหน้าอกหรือลำตัว โรคอาหารเป็นพิษ: มีอาการไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ท้องเสีย อหิวาตกโรค: มีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่ปวดท้อง อาจมีอุจจาระไหลแบบไม่รู้ตัว คลื่นไส้ อาเจียน โรคไวรัสตับอักเสบ เอ: มีอาการไข้อ่อน ๆ เหนื่อยล้า ปวดหัว ปวดท้องบริเวณขวาบน …

เตรียมพร้อมรับมือ ‘ปัญหาสุขภาพ’ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น Read More »