บทความ

ไม่เค็ม ไม่ได้แปลว่าไม่มีโซเดียม ! กรมอนามัย แนะ 5 อาหารซ่อนโซเดียม เน้นย้ำ กินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน

ปัจจุบัน คนไทยมีแนวโน้มบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวันมากขึ้น สืบเนื่องมาจากความชอบกินอาหารรสเค็ม หรือจากความไม่รู้ส่วนประกอบของปริมาณโซเดียมในอาหาร ซึ่งการกินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย กินอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ? องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดมาตรฐานไว้ว่า เราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเทียบเท่า เกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม และเมื่อเฉลี่ยแล้ว ไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร หากกินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าที่ควร อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไตเรื้อรัง ปรับพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดความเสี่ยงโรคร้าย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคถือเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และควรปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เน้นการกินอาหารรสธรรมชาติ เพื่อไม่ให้ติดรสเค็ม เพราะหากติดเป็นนิสัยมาจนโต ทำให้แก้ไขยาก อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเราควรเลี่ยงอาหารรสเค็ม และอาหารชนิดอื่น ๆ ที่อาจไม่มีรสเค็ม แต่เต็มไปด้วยโซเดียม 5 ประเภทอาหาร ที่มีปริมาณโซเดียมแฝงอยู่ เครื่องปรุงรสทั้งที่มีรสเค็มและไม่มีรสเค็ม: …

ไม่เค็ม ไม่ได้แปลว่าไม่มีโซเดียม ! กรมอนามัย แนะ 5 อาหารซ่อนโซเดียม เน้นย้ำ กินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน Read More »

เคล็ด(ไม่)ลับ: เสริมสร้างสุขภาพกายที่ดี เริ่มต้นง่าย ๆ เพียงดื่มน้ำเปล่าวันละ 6 – 8 แก้ว

เมื่อพูดถึงการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลายคนอาจมองไปถึงการรับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดีต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ปราศจากไขมันต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถเริ่มต้นดูแลสุขภาพกายของเราได้ง่าย ๆ เพียง ดื่มน้ำสะอาด เท่านั้น และวันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ ก็จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับการดื่มน้ำ ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน ประโยชน์จากการ ‘ดื่มน้ำเปล่า โดยกรมอนามัย การดื่มน้ำที่สะอาดและเพียงพอต่อร่างกาย จะทำให้ระบบต่าง ๆ ได้รับการกระตุ้นและพร้อมที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โลหิตไม่ข้น การไหลเวียนเป็นไปได้ง่าย หัวใจไม่ทำงานหนัก ไม่เมื่อยล้า ไม่เหนื่อยง่าย ลมหายใจสะอาด สดชื่น นัยน์ตาสดใสเป็นประกาย มีน้ำหล่อเลี้ยง ไม่มีเส้นเลือดแดงกล่ำ ไม่แสบตา ลดปัญหาร้อนในและลิ้นสะอาด ผิวกาย ใบหน้าชุ่มชื่น การขับถ่ายของเสียสะดวก ท้องไม่ผูก ไม่ปวดหลังและบั้นเอว สุขภาพไตดี รูขุมขนมีเหงื่อชุ่มเย็นเสมอ เลือก ‘ดื่มน้ำเปล่า’ ในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ เราควรเลือกน้ำดื่มที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่เป็นน้ำที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป การดื่มน้ำอุ่นเล็กน้อยในตอนเช้า จะช่วยทำให้การขับถ่ายดีขึ้น ลำไส้สะอาด ในหนึ่งวัน …

เคล็ด(ไม่)ลับ: เสริมสร้างสุขภาพกายที่ดี เริ่มต้นง่าย ๆ เพียงดื่มน้ำเปล่าวันละ 6 – 8 แก้ว Read More »

เช็กก่อนแชร์: ใช้ปัสสาวะหยอดตา สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตาได้ จริงหรือไม่ ?

กระแสการใช้ปัสสาวะมาเป็นยาวิเศษ ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ยังคงเป็นที่พูดถึงบนสังคมออนไลน์ และมักเป็นความเชื่อที่ถูกส่งต่อ ประเด็นดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้พี่น้องในชุมชนได้ทราบกัน ปัสสาวะคืออะไร ? ปัสสาวะ คือ ของเสียในรูปของเหลวที่ผลิตออกจากไต โดยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกจากท่อปัสสาวะ มีปริมาณ 1 ลิตรต่อวัน มีองค์ประกอบ 95 % เป็นน้ำ 2.5% เป็นยูเรียและที่เหลือประกอบด้วยสารเคมีอื่น ๆ ปัสสาวะอาจมีสีแตกต่างกันตามปริมาณน้ำตั้งแต่ใสไม่มีสี จนถึงสีเข้ม ในกรณีดื่มน้ำน้อยทำให้มีของเสียปะปนกับปัสสาวะมาก โดยทั่วไปปัสสาวะมีความเป็นกรดเล็กน้อย (ph 6.0) อาจมีความเป็นกลางหรือด่างได้ขึ้นกับปริมาณน้ำที่ดื่ม อาหาร หรือยาที่บริโภค โดยมีค่าความเป็นกรดด่างตั้งแต่ 4.6 ถึง 8.0 ข้อเท็จจริงจากกระทรวงสาธารณสุข จากข่าวสารบนสังคมออนไลน์ ที่ว่า สามารถใช้ปัสสาวะใหม่ ๆ หยอดตา เพื่อบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากใช้สายตาหนัก หรือแพ้แสงแดดได้ ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดยังไม่มีงานวิจัยทางคลินิกที่น่าเชื่อถือมาอ้างอิงว่ารักษาโรคได้จริง  อันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากใช้ปัสสาวะหยอดตา หากนำปัสสาวะมาหยอดตา อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง …

เช็กก่อนแชร์: ใช้ปัสสาวะหยอดตา สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดตาได้ จริงหรือไม่ ? Read More »

วางแผนการรับวัคซีนให้บุตรหลานอย่างเป็นระบบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์

การรับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ให้กับร่างกาย ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคโควิด-19 โดยเราเริ่มรับวัคซีนต่าง ๆ มาตั้งแต่เรายังเด็ก และอาจเด็กจนจำความไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมวัคซีนบางชนิดถึงชื่อไม่คุ้นหูเราเสียเลย วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการรับวัคซีนที่ควรรับในเด็ก ซึ่งผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านอาจไม่คุ้นหู หรือไม่แน่ใจ ตลอดจนมองไม่เห็นความสำคัญของการรับวัคซีนดังกล่าว และคำถามและข้อสงสัยอื่น ๆ มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ! วัคซีนพื้นฐานที่เด็ก ๆ ควรรับ: วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (OPV) วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB) วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ (JE) โดยการรับวัคซีนแต่ละชนิดจะมีความเหมาะสม และการเว้นระยะห่างที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานเข้าพบแพทย์ เพื่อทราบข้อมูลโดยระเอียด ตลอดจนพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคชนิดต่าง ๆ ให้ตรงกับเวลาที่แพทย์นัด คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการรับวัคซีนในเด็ก สามารถพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนก่อนกำหนดได้หรือไม่? คำตอบคือ ไม่ควรรับวัคซีนก่อนวันเวลาที่กำหนด เพราะจะทำให้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเกิดได้ไม่ดีเท่ากับการรับวัคซีนตามเวลาที่กำหนด …

วางแผนการรับวัคซีนให้บุตรหลานอย่างเป็นระบบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์ Read More »

เช็กก่อนแชร์: ตำแหน่งสิวสามารถบ่งบอกโรคได้ จริงหรือไม่ ?

หลายคนอาจเคยได้ยินชุดความคิดที่ว่า ตำแหน่งของสิวบนใบหน้า สามารถบ่งบอกได้ว่าร่างกายเรากำลังมีปัญหาสุขภาพอะไรอยู่ ซึ่งเราก็มักจะฟังหูไว้หู หรือไม่ก็เผลอคล้อยตามชุดความคิดนั้นไป ชุดความคิดดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ให้พี่น้องในชุมชนได้เรียนรู้กัน ! ทำความรู้จักสิว คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร สิว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขนและต่อมเหงื่อ ซึ่งเกิดได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักจะเกิดมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น กลไกการเกิดสิวเกี่ยวข้องกับการอุดตันของรูขุมขน การผลิตไขมันจากต่อมไขมันที่มากผิดปกติ มีเชื้อก่อโรค Cutibacterium Acnes ที่ผิวหนัง และขบวนการอักเสบของร่างกาย โดยมีปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ ฮอร์โมนโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน ปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย กรดไขมันจำเป็นที่ผิวหนังบางชนิด เป็นตัวส่งเสริมในการเกิดโรค สิว อาจสัมพันธ์กับโรคที่มีความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนเพศซึ่งจะสงสัยมากขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสิวรุนแรง มีสิวช่วงใกล้หรือช่วงที่มีประจำเดือน ร่วมกับมีหน้ามันมาก ขนดก ผมบางจากฮอร์โมน เสียงแหบเหมือนผู้ชาย เป็นต้น ข้อเท็จจริงจาก กระทรวงสาธารณสุข ทางสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลว่า สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของการเกิดสิวในที่ต่าง ๆ ของใบหน้าหรือร่างกายกับความผิดปกติหรือโรคในระบบอื่น ๆ นั้น ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยยืนยันหรือสนับสนุนความผิดปกติในเรื่องดังกล่าว เช็กก่อนแชร์ทุกครั้ง …

เช็กก่อนแชร์: ตำแหน่งสิวสามารถบ่งบอกโรคได้ จริงหรือไม่ ? Read More »

วิธีออกกำลังกายสำหรับ 4 กลุ่มวัย เพิ่มความอบอุ่น-สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ตลอดช่วงฤดูหนาว

นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ การเตรียมความพร้อมด้วยการออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการเสริมภูมิคุ้มกันที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันวิธีการออกกำลังกาย ที่แตกต่างกันตามช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย ตลอดช่วงฤดูหนาวนี้ ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน วิธีการออกกำลังกายสำหรับ 4 กลุ่มวัย กรมอนามัย ได้แนะนำวิธีการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ สำหรับ 4 ช่วงวัย เพื่อเพิ่มความอบอุ่นและเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ดังนี้: เด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 6 ปี): เน้นการออกกำลังกายที่สนุกสนาน ให้เด็กใช้เวลาได้นาน ไม่เบื่อหน่าย เช่น วิ่งเก็บของ วิ่งเปี้ยว การละเล่นไทยต่าง ๆ หรือกายบริหารประกอบเพลง เป็นต้น ช่วงอายุ 6 – 17 ปี: ควรออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 60 นาที (สะสมต่อเนื่อง 10 นาทีขึ้นไป) สามารถออกกำลังกายได้หลายรูปแบบ เน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นหลัก เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน …

วิธีออกกำลังกายสำหรับ 4 กลุ่มวัย เพิ่มความอบอุ่น-สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ตลอดช่วงฤดูหนาว Read More »

เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงหรือไม่?​

ประเด็นที่ว่า แอลกอฮอล์ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ยังคงเป็นวลีที่ถูกส่งต่อบนสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนาน หรือเป็นการพูดเพื่อส่งต่อชุดความเข้าใจผิด ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ และจากประเด็นที่มีการพูดคุยกันบนสังคมออนไลน์ว่า ดื่มแอลกอฮอล์จะไม่ติดเชื้อโควิด-19 และดื่มทุกวันได้ผลดีกว่าออกกำลังกาย เป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้ทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบชุดข้อมูลดังกล่าว และชี้แจงว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง ทำให้เม็ดเลือดขาวฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่ และมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การรวมกลุ่มเพื่อดื่มสังสรรค์จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วยที่มีประวัติดื่มสุรา ติดเชื้อ โควิด-19 และเข้ารับการรักษา ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการถอนสุรารุนแรง ต้องสังเกตอาการใกล้ชิด บางรายต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง พบมีความเสี่ยงต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตสูงเมื่อเทียบกับคนไข้ที่ไม่มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์  ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ช่วยป้องกันโรค โควิด-19 ดังนั้น พี่น้องในชุมชน ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันโรค โควิด-19 และไม่ส่งต่อชุดข้อมูลดังกล่าวให้พี่น้องในชุมชนคนอื่น ๆ …

เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงหรือไม่?​ Read More »

อันตราย! เดินลุยน้ำเท้าเปล่า เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนู

โรคไข้ฉี่หนู หรือ โรคฉี่หนู เป็นอีกหนึ่งโรคคุ้นหูที่แวะเวียนกลับมาทุกปีในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นโรคที่มักระบาดในบริเวณที่เกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในบ้างพื้นที่ของประเทศไทยยังไม่หายไป วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคไข้ฉี่หนู ว่าคืออะไร เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร และเราจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ โรคไข้ฉี่หนู ได้อย่างไร หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง สาเหตุของ โรคไข้ฉี่หนู โรคไข้ฉี่หนู มักพบมากในช่วงฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียเลปโตสไปรา ที่ปนมากับปัสสาวะของสัตว์นำโรค ได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข โดยเชื้อดังกล่าวจะไหลลงสู่แหล่งน้ำ หนองน้ำ หรือบริเวณที่เป็นดินชื้นแฉะ และจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้นานเป็นเดือน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากการสัมผัสกับน้ำหรือดินโคลนที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเชื้อจะสามารถไชเข้าทางผิวหนังที่อ่อนนุ่ม มีแผล หรือผ่านทางเยื่อบุตา จมูก และปาก จากการลงแช่น้ำ ลุยน้ำ ย่ำดินโคลน โดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน อาการของ โรคไข้ฉี่หนู หลังจากติดเชื้อประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ …

อันตราย! เดินลุยน้ำเท้าเปล่า เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนู Read More »

เช็กก่อนแชร์: กินอาหารค้างคืน อุ่นไมโครเวฟ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

จากวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบมากขึ้น ทำให้การใช้ไมโครเวฟเพื่ออุ่นอาหารที่ซื้อมาตั้งแต่วันก่อนหน้า กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ มีการส่งต่อข้อมูลผ่านทางสังคมออนไลน์ว่า การอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ประเด็นดังกล่าวเป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันความรู้ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน การอุ่นซ้ำ และรับประทานอาหารค้างคืน “ไม่เกี่ยวข้อง” กับการเกิดโรคมะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า การรับประทานอาหารค้างคืน และนำกลับมาอุ่นซ้ำ ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง ทว่า ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรักษาอาหารที่ไม่ถูกวิธี เช่น ซื้ออาหารแช่แข็งมาเก็บในตู้เย็นที่มีความเย็นไม่เพียงพอ ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตจนสร้างสารพิษขึ้นมา หากทานอาหารเหล่านั้นเข้าไป ก็จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้ อาหารที่ทำทิ้งไว้นาน และถูกนำมาอุ่นซ้ำ อาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง รวมถึงมีรสชาติเปลี่ยนไป ดังนั้น การรับประทานอาหารค้างคืน โดยการนำกลับมาอุ่นซ้ำ ควรคำนึงถึงอุณหภูมิของการเก็บรักษา และการอุ่นด้วยความร้อนอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ รับประทานอาหารสดใหม่ เลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ แม้ว่าวิถีชีวิตในปัจจุบันของเราอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรับประทานอาหาร เราควรรับประทานอาหารที่สดใหม่ ไม่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ …

เช็กก่อนแชร์: กินอาหารค้างคืน อุ่นไมโครเวฟ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่? Read More »

“สูบบุหรี่ไฟฟ้า” เสี่ยงโรคปอดอักเสบรุนแรง

บนสังคมออนไลน์ มีการกระจายข้อมูลข่าวสารแบบผิด ๆ ว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่อันตรายต่อสุขภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการสูบบุหรี่มวน อย่างไรก็ตาม มีรายงานพบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบรุนแรง โดยมีสาเหตุมาจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเกิดมาจากการที่ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย วันนี้คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ให้ทุกคนในชุมชนได้ทราบกัน กรมควบคุมโรค ย้ำ บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายต่อสุขภาพ จากการเฝ้าระวังข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ในประเทศไทย พบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในท้องตลาด มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และบางยี่ห้อไม่สามารถระบุสารตั้งต้นในการผลิตได้ อีกทั้งยังมีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง รวมถึงบิดเบือนข้อมูลว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งปัญหานี้ อาจนำไปสู่การเข้าใจผิด และทำให้ประชาชนหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น กรมควบคุมโรค ย้ำว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้า สามารถส่งผลให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจลำบาก ปวดเมื่อยตามตัว รวมถึงอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น หากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือผู้ที่สูดดมควันของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น กรมควบคุมโรค แนะนำว่าให้รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที บุหรี่ไฟฟ้า ‘ไม่ใช่’ สินค้าทางเลือก ในการช่วยเลิกสูบบุหรี่ กรมควบคุมโรค …

“สูบบุหรี่ไฟฟ้า” เสี่ยงโรคปอดอักเสบรุนแรง Read More »