บทความ

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? พร้อมเช็คลิสต์ประเมินความเสี่ยง รู้ทัน ป้องกันได้

แน่นอนว่า หลายคนต้องเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ทำงานหน้าคอมนาน ๆ แบบนี้ เดี๋ยวก็เป็นออฟฟิศซินโดรมหรอก” ซึ่งแม้ว่าชื่อโรคนี้อาจจะฟังดูหุ้นหูเสียเหลือเกิน ทว่า หลายคนอาจยังคงไม่แน่ใจว่า โรคออฟฟิศซินโดรมที่เขาพูดถึงนั้น แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เพื่อไขปัญหาคาใจดังกล่าว ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ ขออาสามาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ว่ามันเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร และเราจะสามารถรับมือกับมันได้อย่างไร ออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุมาจากอะไร? ออฟฟิศซินโดรม เป็นชื่ออาการโดยรวมที่มักเกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ  และไม่ได้ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย โดยอาการอาจแตกต่างกันไปตามบุคคล อย่างเช่น อาการปวดชนิดต่าง ๆ ทั้งจากกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด การอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น จากปลายประสาทถูกกดทับ หรืออาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการทำงาน โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น: ท่านั่งทำงาน เช่น การวางศอก หรือการวางมือบนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง การบาดเจ็บจากอาการเดิมซ้ำ ๆ เช่นการคลิกเมาส์ทั้งวัน อาจก่อให้เกิดการอักเสบที่เอ็นข้อมือ สภาพแวดล้อมในห้องไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงานที่ไม่เหมาะสม หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ตั้งไม่ตรงกับระดับสายตา หรือแสงสว่างภายในห้องไม่เพียงพอ ออฟฟิศซินโดรมมีอาการอย่างไร? เนื่องด้วยการที่ออฟฟิศซินโดรมเป็น “อาการโดยทั่วไป” ที่พนักงานออฟฟิศมักเผชิญ แม้ว่าอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ แต่ในบางครั้ง …

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? พร้อมเช็คลิสต์ประเมินความเสี่ยง รู้ทัน ป้องกันได้ Read More »

ข้อปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

เป็นที่รู้กันว่า การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่พึงประทำ เนื่องจากผลการตรวจจะสามารถบอกให้เรารู้ได้ว่าเราควรดูแลรักษาสุขภาพส่วนไหนเป็นพิเศษหรือไม่ แถมยังช่วยให้เราสามารถป้องกันและรับมือกับโรคต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้ว เริ่มอยากตรวจสุขภาพประจำปีกันแล้วใช่ไหมล่ะ? แต่ช้าก่อน! เพื่อที่จะให้ผลของการตรวจสุขภาพออกมาตรงที่สุด ผู้เข้ารับการตรวจอาจต้องเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายบางประการด้วยนะ โดยวันนี้ ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจจะมาแบ่งปันความรู้เบื้องต้นและข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย! ข้อควรปฏิบัติก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ ในการเข้ารับการตรวจสุขภาพแต่ละครั้ง เราต้องทำการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายกันสักนิดหนึ่ง โดยสามารถทำตามข้อปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ เนื่องจากการอดนอนอาจส่งผลให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะความดันโลหิต หรือ อัตราการเต้นของหัวใจ งดอาหารและน้ำ อย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ (จิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย) งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ เนื่องจากแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจวินิจฉัยอาการบางอย่าง สวมเสื้อแขนสั้น หรือเสื้อที่สะดวกต่อการพับแขน เนื่องจากอาจมีการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน แจ้งแพทย์ หากมีโรคประจำตัวที่ทราบอยู่แล้วพร้อมนำผลตรวจมาแสดงด้วย สุภาพสตรี ไม่ควรตรวจสุขภาพช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน และขณะมีประจำเดือน ควรงดตรวจปัสสาวะเนื่องจากอาจมีเลือดปนเปื้อน หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่องดตรวจด้วยการเอกซเรย์ ทั้งนี้ …

ข้อปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนตรวจสุขภาพประจำปี ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? Read More »

ไข้หวัดใหญ่คืออะไร ทำไมเราต้องฉีดวัคซีนป้องกัน?

ขึ้นชื่อว่าเป็น “ไข้หวัดใหญ่” ก็แน่นอนว่าย่อมมีอาการที่รุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา หลายคนอาจรู้ว่า ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อผ่านทางระบบทางเดินหายใจที่ระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝน ทำให้มองว่าไข้หวัดใหญ่เป็นเพียงโรค ๆ หนึ่ง ที่ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากไข้หวัดธรรมดา แต่แค่แวะเวียนมาในช่วงหนึ่งของทุกปีและมีอาการหนักกว่าเท่านั้นเอง ทว่า ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่แอบซ่อนความอันตรายไว้ และเราก็เห็นรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเป็นประจำทุกปี ดังนั้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงเป็นอีกหนึ่งวัคซีนป้องกันโรคที่ควรฉีดเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลซึ่งอยู่ใน “กลุ่มเสี่ยง”   ไข้หวัดใหญ่คืออะไร เกิดจากอะไร และอาการอย่างไร? ไข้หวัดใหญ่ (Influenza หรือ Flu) เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยมากสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านการไอ จาม หรือการมีสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัส โดยอาการโดยทั่วไปอาจคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่อาการเด่น ๆ ที่เราสามารถสังเกตได้ของโรคไข้หวัดใหญ่ก็คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หนาวสั่น รวมถึงอาจมีอาการท้องเสียร่วม โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลันทันที ซึ่งหากมีอาการควรเข้าพบแพทย์และรับการรักษาที่ต้นเหตุอย่างถูกต้อง  โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้อย่างไร? วิธีการดูแลตัวเองที่ง่ายที่สุดก็คือการเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ เราไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้ป่วยหรือคนรู้จักที่เราใช้ชีวิตร่วมด้วยมีการป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น วิธีการป้องกันตัวเองที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดโอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อนั่นเอง  ทำไมเราถึงต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี? หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้ารับวัคซีนแล้ว จะสามารถติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ คำตอบก็คือถึงแม้ว่ารับวัคซีนแล้ว ก็ยังสามารถที่จะติดเชื้อได้ แต่อาจจะมีความรุนแรงลดลง …

ไข้หวัดใหญ่คืออะไร ทำไมเราต้องฉีดวัคซีนป้องกัน? Read More »

ทำความรู้จักโรค “เบาหวาน” ซึ่งไม่หวานแถมถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้

หลายต่อหลายครั้ง เราอาจจะได้ยินคนพูดว่า “กินหวานขนาดนี้ เดี๋ยวก็เป็นเบาหวานหรอก” ซึ่งถ้าจะพูดว่า โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่เกิดจากการทานหวาน ก็อาจจะไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด เพราะว่าแค่การทานหวานเพียงอย่างเดียว ไม่อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานได้ อีกทั้งการเป็นโรคเบาหวาน อาจจะไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว เพราะโรคนี้สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ด้วย หลายคนอาจกำลังคิดว่า ฉันไม่ชอบทานอาหารหวาน โรคเบาหวานนี่ฟังดูอย่างไรก็ไกลตัว แต่ความจริงแล้ว จากสถิติพบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 4.8 ล้านคน เลยทีเดียว ซึ่งนับเป็นจำนวนผู้ป่วยที่ค่อนข้างสูงมาก พอเห็นจำนวนผู้ป่วยมากขนาดนี้ โรคนี้จึงเริ่มฟังดูใกล้ตัวเรามากขึ้นขึ้นมาทันที เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว วันนี้ ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ อยากจะมาแบ่งปันความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพื่อให้คนในชุมชน ได้รู้จักตัวโรค วิธีป้องกัน ตลอดจนวิธีรับมือกับเจ้าโรคนี้ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และทันท่วงที โรคเบาหวานคืออะไร? โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ การหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนลดลง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยความบกพร่องดังกล่าวนี้ มีผลให้การดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ร่างกายลดลง จนมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเป็นปริมาณมาก และเป็นผลให้อวัยวะต่าง ๆ …

ทำความรู้จักโรค “เบาหวาน” ซึ่งไม่หวานแถมถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ Read More »

หลงลืมตามวัยหรืออาจเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อม ?

เรามักเชื่อกันว่าอาการหลงลืมของผู้สูงอายุนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่จริง ๆ แล้ว ความเชื่อดังกล่าวไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะบางทีอาการเหล่านี้อาจซ่อนความอันตรายของ “ภาวะสมองเสื่อม” เอาไว้ ซึ่งนอกจากจะขี้หลงขี้ลืมแล้ว ยังมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน พฤติกรรม บุคลิกภาพและอารมณ์อีกด้วย ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ เราห่วงใยคนในชุมชน จึงมีบริการประเมินภาวะสมองเสื่อมให้กับคุณและคนใกล้ตัวที่กำลังไม่แน่ใจว่าอาการขี้หลงขี้ลืมของตนเองนั้น มันเกิดจากภาวะสมองเสื่อมหรือเปล่า แต่ก่อนจะเข้ามาคลินิกเพื่อประเมิน เรามาทำความรู้จักกับภาวะสมองเสื่อมให้มากขึ้น และสำรวจตัวเองกันคร่าว ๆ กันก่อนดีกว่า ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร? ภาวะสมองเสื่อมคือภาวะที่การทำงานของสมองในด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการรับรู้สิ่งแวดล้อมผิดปกติไป ทำให้เกิดปัญหาทางด้านความคิด การตัดสินใจ รวมถึงมีพฤติกรรมต่าง ๆ และอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสามารถพัฒนาความรุนแรง จนในที่สุดผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และต้องคอยมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดอีกด้วย ซึ่งภาวะนี้ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง โดยประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบก้าวกระโดด สิ่งที่ตามมาคือตัวเลขผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจากสถิติพบว่าทุก ๆ 8 คนในผู้สูงอายุ 100 คน จะป่วยด้วยภาวะสมองเสื่อม และตัวเลขโดยรวมนั้นพุ่งสูงถึง 800,000 คนเลยทีเดียว ภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากอะไร? ภาวะสมองเสื่อมไม่ใช่เพียงอาการขี้หลงขี้ลืมเป็นครั้งคราวเท่านั้น แต่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ หลายภาวะ …

หลงลืมตามวัยหรืออาจเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อม ? Read More »

ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยงโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อและป้องกันการแพร่เชื่อให้กับคนใกล้ตัว ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ มีแนวทางการปฏิบัติตัวขั้นพื้นฐานเพื่อดูแลตัวเองและสังคมได้ ดังนี้ ผู้ที่เดินทางไปในบริเวณพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค ควรกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน และไม่ควรออกจากบ้านหากไม่จำเป็น ผู้มีโอกาสรับเชื้อสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวได้ตามปกติ แต่ควรใส่หน้ากาก และเว้นระยะห่าง 1 – 2 เมตร ผู้มีโอกาสรับเชื้อควรแยกห้องนอนกับคนในครอบครัวเป็นเวลา 14 วัน นับจากวันที่มีโอกาสรับเชื้อ เมื่อผู้มีโอกาสรับเชื้อมีอาการไอ หรือจาม ควรปิดปากด้วยกระดาษทิชชู่และทิ้งลงในถังขยะทันที เพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว  ผู้มีโอกาสรับเชื้อควรแยกรับประทานอาหารกับคนในครอบครัว รวมถึงไม่ใช้ จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น หากมีไข้สูงเกิน 37.5 องศาและมีอาการอื่นร่วม เช่น มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก ควรเข้ารับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลโดยทันที ข้อปฏิบัติดังกล่าวถือเป็นรายการคำแนะนำที่ควรปฏิบัติตาม เพื่อช่วยลดโอกาสการรับและกระจายตัวของเชื้อโควิด-19 หากใครจำเป็นต้องไปเรียน ไปทำงาน หรือไปทำธุระนอกบ้าน แล้วจำเป็นต้องใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ อย่าลืม ใส่หน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมืออย่างสม่ำเสมอ และหากเป็นไปได้ ในช่วงนี้ ควรเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ปิดและแออัดไปด้วยผู้คนจำนวนมาก จะปลอดภัยกว่านะ …

ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยงโควิด-19 Read More »

เปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ผ่าน LINE ได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

เราอาจจะคุ้นชินกันว่าการเดินเรื่องเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือเปลี่ยนหน่วยบริการใด ๆ เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ไม่ใช่กับการเปลี่ยนหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง อีกต่อไป!  เพราะว่าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 นี้ เราสามารถเปลี่ยนหน่วยบริการสิทธิบัตรทองได้ ผ่านช่องทาง LINE Official Account โดยมีขั้นตอนที่ง่ายแสนง่าย ที่ทุกคนสามารถทำได้เอง เพียงทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ทีละขั้นตอนรับรองเปลี่ยนได้แน่นอน พิมพ์ค้นหา @nhso ในช่องค้นหา กดเมนู “เปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง” อ่านข้อตกลงในการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้เรียบร้อย และกดยอมรับ ระบุเลขบัตรประชาชน 13 หลัก แล้วกดถัดไป ระบุข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มเติม ได้แก่ ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน แล้วกดถัดไป กำหนดรหัสผ่าน 6 หลัก กรอกหมายเลขโทรศัพท์เพื่อขอรับรหัส OTP กรอกรหัส OTP ที่ได้รับ ตรวจสอบที่อยู่ว่าที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ตามบัตรประชาชนตรงกันหรือไม่ ถ่ายรูปบัตรประชาชน และถ่ายรูปเซลฟี่คู่กับบัตรประชาชน แล้วกดอัพโหลด สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดแบบคำร้อง …

เปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ผ่าน LINE ได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป Read More »

โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชใกล้ตัวที่เราวินิจฉัยด้วยตัวเองได้

ในอดีต “โรคซึมเศร้า” อาจเคยเป็นชื่อโรคที่ไม่คุ้นหูสำหรับใครหลายคน ซึ่งถูกมองว่าเป็นเพียงภาวะอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความเครียดเท่านั้น โดยภาวะความเครียดนี้ มักตามมาด้วยคำถามยอดฮิต เช่น ทำงานหนักไปหรือเปล่า? เรียนมากไปหรือเปล่า? คิดมากไปหรือเปล่า? และสุดท้ายพอคำถามเหล่านี้ถูกตอบด้วยคำว่า “น่าจะ” “เป็นไปได้” หรืออะไรก็ตาม โรคนี้ก็จะถูกกวาดซ่อนไว้เป็นปัญหาใต้พรมในจิตใจ และจะกลายเป็นปัญหาที่สังเกตได้จริง ๆ ก็ต่อเมื่อมันอันตรายเสียแล้ว ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ เราเป็นห่วงคนในชุมชน จึงมีบริการประเมินภาวะซึมเศร้าให้กับทุกคนที่กำลังไม่แน่ใจว่าความเครียด ความกังวล หรือความรู้สึก “ดิ่ง ๆ” ที่กำลังประสบอยู่ตอนนี้ มันเกิดมาจากโรคซึมเศร้าหรือไม่ แต่ก่อนที่เราจะแวะมาที่ทางคลินิกเพื่อรับการประเมิน เราสามารถรู้จักโรคซึมเศร้ามากขึ้น และเรียนรู้วิธีการวินิจฉัยอาการของโรคด้วยตัวเองได้ ดังต่อไปนี้ โรคซึมเศร้าคืออะไร? โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง ในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย นั่นแปลได้ง่าย ๆ ว่า โรคนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดมาจากอารมณ์เพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถรักษาหายได้สนิทโดยการทำจิตใจให้ผ่อนคลายนั่นเอง และนอกจากผลกระทบต่อสภาพจิตใจโดยทั่วไป ความเครียดจากโรคนี้อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้การตัดสินใจฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยจากสถิติพบว่า ในปี 2560 กลุ่มเยาวชนอายุ 20-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายที่ 4.94 ต่อประชากรแสนคน ขณะที่ในปี …

โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชใกล้ตัวที่เราวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ Read More »

7 กลุ่มเสี่ยง รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดช่องทางจองสิทธิ 4 ช่องทาง

ด้วยการใช้วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal) ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการสนับสนุนยกระดับกองทุนบัตรทองสู่หลักประกันสุขภาพแห่งชาติยุคใหม่ ซึ่งเป็นนโยบายและความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการยกระดับบริการบัตรทองเป็นวีไอพี ด้วยการเพิ่มความสะดวกในการรับบริการให้กับประชาชนนั้น จึงเกิด “โครงการจองสิทธิฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 2564” เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล และลดการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดให้ประชาชนใน 7 กลุ่มเสี่ยงจองสิทธิฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทางสปสช. ได้จัดเตรียมวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 6.4 ล้านโดส สำหรับ 6 กลุ่มเสี่ยง และสำหรับหญิงมีครรภ์ 3.5 แสนโดส ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงที่มีสิทธิ์รับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน มีน้ำหนัก …

7 กลุ่มเสี่ยง รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดช่องทางจองสิทธิ 4 ช่องทาง Read More »