โควิด-19 VS ไข้หวัดใหญ่ อาการเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

รูปปก บทความ ความแตกต่างของ โควิด และ ไข้หวัดใหญ่

ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเดินทางจากฤดูร้อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ช่วงเวลาทองของทุกปีที่โรค “ไข้หวัดใหญ่” จะกลับมาระบาด ซึ่งในขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ยังมีแนวโน้มว่าจะอยู่กับเราไปอีกยาว ๆ จึงเรียกได้ว่า เรากำลังเผชิญกับสองโรคร้ายที่มีอาการค่อนข้าง “คล้ายกัน” ในเวลาเดียวกัน แต่หลายๆ คนก็คงจะสงสัยว่า ไข้หวัดใหญ่ โควิด อาการต่างกันอย่างไร

ดังนั้น วันนี้ ทางคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จึงอยากจะมาแบ่งปันความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ กับคนในชุมชน เกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างอย่างคร่าว ๆ ระหว่าง “โรคไข้หวัดใหญ่” และ “การติดเชื้อไวรัสโควิด-19” เพื่อที่ทุกคนจะได้สามารถแยกอาการของโรค และรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาหรือรับวัคซีนให้ตรงจุดอย่างทันท่วงที โดยความเหมือนหรือแตกต่างกันเหล่านั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!

เปรียบเทียบความแตกต่างของ ไข้หวัดใหญ่ และ โควิด

อาการหลักของโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดา แต่มักมีอาการที่เด่นชัดและรุนแรงกว่า ได้แก่

  • มีไข้สูงแบบทันทีทันใด (37.8-39 องศาเซลเซียส)
  • มีอาการปวดหัวหนัก
  • มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว และอ่อนเพลีย
  • อาจมีอาการไอรุนแรง ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก

อาการหลักของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยอาการโดยทั่วไปที่พบได้ ได้แก่

    • มีไข้สูง (เกิน 37.5 องศาเซลเซียส) ติดต่อกัน 48 ชั่วโมง
    • มีอาการปวดหัว
    • มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว และอ่อนเพลีย
    • มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
    • มีอาการไอแห้ง เจ็บคอ
    • จมูกไม่ได้กลิ่น และลิ้นไม่รับรส

ความคล้ายคลึงของ โควิด และ ไข้หวัดใหญ่ อาจจะมีการจาม

จะเห็นได้ว่าอาการโดยทั่วไปของทั้งสองโรคค่อนข้างคล้ายกัน โดยอาจแตกต่างกันที่ การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการแสดงที่ชัดเจนเพิ่มเติม อย่าง อาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ไอแห้ง จมูกไม่ได้กลิ่น และลิ้นไม่ได้รับรส นั่นเอง เพียงเท่านี้ เราก็สามารถแยกความแต่งต่างที่ชัดเจนของทั้งสองโรคได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด-19 ทั้งสองโรคก็มีความอันตรายและมีข้อมูลการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวทั้งคู่ ดังนั้น หากมีอาการชัดเจนของโรคทั้งสอง ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

อ่านเพิ่มเติม:

กดแชร์บทความ

ดูบทความอื่นๆ