โรคซิฟิลิส อาจฟังดูเป็นโรคที่ไกลตัว และไม่ได้ถูกพูดถึงบ่อยครั้งเท่าโรคเอชไอวี หรือโรคเอดส์ ทำให้โรคดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่หากพูดว่าเป็น “โรคลำยอง” หรือโรคที่ “ลำยอง” ตัวละครนำในละครเรื่อง “ทองเนื้อเก้า” เป็น ก็อาจจะทำให้หลายคนพอนึกภาพตามได้ไม่มากก็น้อย
แต่อย่างไรก็ดี วันนี้ คลินิกฯ ใกล้บ้านใกล้ใจของเรา มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส มาแบ่งปันให้กับทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ว่าโรคดังกล่าวคืออะไร ติดต่อได้อย่างไร มีอาการอย่างไร และหากเราได้รับเชื้อจะสามารถรักษาและป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้อย่างไร
โรคซิฟิลิส คืออะไร?
โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการสัมผัสเชื้อโดยตรงผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เทรโพนีมา พัลลิดัม (Treponema Pallidum) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีระยะฟักตัวประมาณ 2 – 4 สัปดาห์จนถึง 3 เดือน
โรคซิฟิลิสมีอาการแสดงอย่างไร?
อาการของโรคซิฟิลิสจะทวีความรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาหลังได้รับเชื้อแล้ว โดยอาการแสดงที่สามารถสังเกตได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะหลัก ๆ ได้แก่:
- ระยะที่ 1: เกิดตุ่มเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 2 – 4 มิลลิเมตรบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น อวัยวะเพศ ริมฝีปาก ลิ้น เป็นต้น โดยตุ่มเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และแตก จากนั้นจะเป็นแผล ไม่มีอาการเจ็บ เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะนิ่งนอนใจว่าไม่เป็นอะไร เนื่องจากสามารถหายได้เอง แต่ในระหว่างนี้ เชื้อจะเริ่มเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 2: หลังจากติดเชื้อระยะแรกประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ เชื้อในต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีผื่นขึ้นตามร่างกาย โดยเฉพาะฝ่ามือและฝ่าเท้าโดยมากไม่มีอาการคัน บางครั้งอาจพบเนื้อตายเน่า มีน้ำเหลืองไหล ซึ่งมีเชื้อซิฟิลิสปน ระยะที่ 2 จึงเป็นระยะที่เชื้อสามารถติดต่อได้ง่าย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ นอกจากไข้ เจ็บคอหรือปวดเมื่อยเท่านั้น
- ระยะที่ 3: มีอีกชื่อคือ ระยะแฝง เป็นช่วงที่ไม่มีอาการ แต่หากมารดาป่วยเป็นโรคในระยะนี้ จะสามารถส่งต่อเชื้อซิฟิลิสไปให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ได้
- ระยะที่ 4: หลังได้รับเชื้อประมาณ 2 – 30 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เชื้อจะทำลายอวัยวะภายใน ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงให้ ตาบอด หูหนวก ใบหน้าผิดรูป สมองเสื่อม เป็นเหตุให้เสียสติ หรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ถ้าหากว่าเชื้อลามไปถึงหัวใจ จะทำให้หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้
สามารถป้องกันและรักษาโรคซิฟิลิสได้อย่างไร?
โรคซิฟิลิสสามารถป้องกันได้โดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ หากพบความผิดปกติที่คาดว่าอาจเป็นสัญญาณของโรคซิฟิลิส เช่น เกิดแผลบริเวณอวัยวะเพศ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุ
หากได้รับเชื้อซิฟิลิส สามารถทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลินในขนาดสูง โดยผู้ป่วยต้องไปฉีดยาตามนัดหมายของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากการขาดยาจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถรักษาโรคจนหายขาด
เช็คความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลดความเสี่ยงส่งต่อเชื้อให้คนที่รัก
ผู้ที่ได้รับเชื้อซิฟิลิส อาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการป่วย ทำให้ผู้ป่วยเป็นพาหะของโรค และอาจส่งต่อเชื้อไปให้คนที่รักโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น หากมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจได้รับเชื้อ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนการแต่งงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และสุขภาพในระยะยาว
ตรวจเช็คความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่คลินิกฯ ใกล้บ้านใกล้ใจ
คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพ สำหรับตรวจเช็คความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่คนในชุมชน โดยแพ็กเกจจะครอบคลุมรายการการตรวจดังนี้:
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจหาเชื้อเอดส์
- ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส
โดยแพ็กเกจบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของทางคลินิกฯ มีค่าใช้จ่าย 999 บาท (จากราคาปกติ 1,500 บาท) ทั้งเพศหญิงและเพศชาย และให้บริการที่คลินิกฯ ทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
หาคลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ สาขาใกล้คุณ ที่นี่
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่คลินิกกำหนด
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE: @kbkjclinic