วางแผนการรับวัคซีนให้บุตรหลานอย่างเป็นระบบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์

การรับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ให้กับร่างกาย ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคโควิด-19 โดยเราเริ่มรับวัคซีนต่าง ๆ มาตั้งแต่เรายังเด็ก และอาจเด็กจนจำความไม่ได้ จึงเป็นเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมวัคซีนบางชนิดถึงชื่อไม่คุ้นหูเราเสียเลย

วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการรับวัคซีนที่ควรรับในเด็ก ซึ่งผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านอาจไม่คุ้นหู หรือไม่แน่ใจ ตลอดจนมองไม่เห็นความสำคัญของการรับวัคซีนดังกล่าว และคำถามและข้อสงสัยอื่น ๆ มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย !

วัคซีนพื้นฐานที่เด็ก ๆ ควรรับ:

  • วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG)
  • วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (OPV)
  • วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP)
  • วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB)
  • วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR)
  • วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ (JE)

โดยการรับวัคซีนแต่ละชนิดจะมีความเหมาะสม และการเว้นระยะห่างที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานเข้าพบแพทย์ เพื่อทราบข้อมูลโดยระเอียด ตลอดจนพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคชนิดต่าง ๆ ให้ตรงกับเวลาที่แพทย์นัด

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการรับวัคซีนในเด็ก

  • สามารถพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนก่อนกำหนดได้หรือไม่?
    • คำตอบคือ ไม่ควรรับวัคซีนก่อนวันเวลาที่กำหนด เพราะจะทำให้การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเกิดได้ไม่ดีเท่ากับการรับวัคซีนตามเวลาที่กำหนด
  • หากลืมพาบุตรหลานมารับวัคซีน สามารถเข้ารับวัคซีนหลังจากวันนัดได้หรือไม่?
    • คำตอบคือ สามารถเข้ารับวัคซีนหลังจากวันนัดได้ แต่ควรที่จะไปให้ใกล้กับวันที่ทำการนัดหมายมากที่สุด
  • อาการอย่างไร จึงไม่ควรพาบุตรหลานมาฉีดวัคซีน?
    • คำตอบคือ เมื่อบุตรหลานไม่สบาย หรือมีไข้ ควรเลื่อนการเข้ารับวัคซีนออกไปก่อน
  • หลังเข้ารับวัคซีน หากบุตรหลานมีอาการไม่สบายตัว ควรทำอย่างไร?
    • มีตุ่มหนอง:  ให้ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ด ห้ามบ่งหนองออก
    • ปวด บวม แดง ร้อน: สามารถให้ยาแก้ปวด และใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบ
    • มีไข้: สามารถให้ยาลดไข้
  • หากบุตรหลานแพ้ยาสามารถเข้ารับวัคซีนได้ไหม?
    • คำตอบคือ สามารถเข้ารับวัคซีนได้บางชนิด แต่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเสมอว่า มีประวัติแพ้ยา แพ้ไข่ไก่ หรือเคยมีอาการผิดปกติรุนแรงหลังได้รับวัคซีน เช่น ชัก ผื่น ลมพิษ หรือมีไข้สูงมาก เป็นต้น

อ้างอิง: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

อ่านเพิ่มเติม ที่นี่:

กดแชร์บทความ

ดูบทความอื่นๆ