November 27, 2022

เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงหรือไม่?​

ประเด็นที่ว่า แอลกอฮอล์ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ยังคงเป็นวลีที่ถูกส่งต่อบนสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการพูดเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนาน หรือเป็นการพูดเพื่อส่งต่อชุดความเข้าใจผิด ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ และจากประเด็นที่มีการพูดคุยกันบนสังคมออนไลน์ว่า ดื่มแอลกอฮอล์จะไม่ติดเชื้อโควิด-19 และดื่มทุกวันได้ผลดีกว่าออกกำลังกาย เป็นความจริงหรือไม่ วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ ให้ทุกคนในชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบชุดข้อมูลดังกล่าว และชี้แจงว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง ทำให้เม็ดเลือดขาวฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่ และมีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การรวมกลุ่มเพื่อดื่มสังสรรค์จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังพบผู้ป่วยที่มีประวัติดื่มสุรา ติดเชื้อ โควิด-19 และเข้ารับการรักษา ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการถอนสุรารุนแรง ต้องสังเกตอาการใกล้ชิด บางรายต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง พบมีความเสี่ยงต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตสูงเมื่อเทียบกับคนไข้ที่ไม่มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์  ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ช่วยป้องกันโรค โควิด-19 ดังนั้น พี่น้องในชุมชน ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันโรค โควิด-19 และไม่ส่งต่อชุดข้อมูลดังกล่าวให้พี่น้องในชุมชนคนอื่น ๆ …

เช็กก่อนแชร์: ดื่ม แอลกอฮอล์ จะไม่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงหรือไม่?​ Read More »

อันตราย! เดินลุยน้ำเท้าเปล่า เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนู

โรคไข้ฉี่หนู หรือ โรคฉี่หนู เป็นอีกหนึ่งโรคคุ้นหูที่แวะเวียนกลับมาทุกปีในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นโรคที่มักระบาดในบริเวณที่เกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในบ้างพื้นที่ของประเทศไทยยังไม่หายไป วันนี้ คลินิกเวชกรรมใกล้บ้านใกล้ใจ จะมาแบ่งปันสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคไข้ฉี่หนู ว่าคืออะไร เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร และเราจะสามารถป้องกันการติดเชื้อ โรคไข้ฉี่หนู ได้อย่างไร หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง สาเหตุของ โรคไข้ฉี่หนู โรคไข้ฉี่หนู มักพบมากในช่วงฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียเลปโตสไปรา ที่ปนมากับปัสสาวะของสัตว์นำโรค ได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข โดยเชื้อดังกล่าวจะไหลลงสู่แหล่งน้ำ หนองน้ำ หรือบริเวณที่เป็นดินชื้นแฉะ และจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้นานเป็นเดือน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากการสัมผัสกับน้ำหรือดินโคลนที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเชื้อจะสามารถไชเข้าทางผิวหนังที่อ่อนนุ่ม มีแผล หรือผ่านทางเยื่อบุตา จมูก และปาก จากการลงแช่น้ำ ลุยน้ำ ย่ำดินโคลน โดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน อาการของ โรคไข้ฉี่หนู หลังจากติดเชื้อประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ …

อันตราย! เดินลุยน้ำเท้าเปล่า เสี่ยงโรคไข้ฉี่หนู Read More »