ไม่เค็ม ไม่ได้แปลว่าไม่มีโซเดียม ! กรมอนามัย แนะ 5 อาหารซ่อนโซเดียม เน้นย้ำ กินเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน
ปัจจุบัน คนไทยมีแนวโน้มบริโภคโซเดียมในชีวิตประจำวันมากขึ้น สืบเนื่องมาจากความชอบกินอาหารรสเค็ม หรือจากความไม่รู้ส่วนประกอบของปริมาณโซเดียมในอาหาร ซึ่งการกินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย กินอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ? องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดมาตรฐานไว้ว่า เราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเทียบเท่า เกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม และเมื่อเฉลี่ยแล้ว ไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร หากกินอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าที่ควร อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไตเรื้อรัง ปรับพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดความเสี่ยงโรคร้าย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคถือเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และควรปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก เน้นการกินอาหารรสธรรมชาติ เพื่อไม่ให้ติดรสเค็ม เพราะหากติดเป็นนิสัยมาจนโต ทำให้แก้ไขยาก อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเราควรเลี่ยงอาหารรสเค็ม และอาหารชนิดอื่น ๆ ที่อาจไม่มีรสเค็ม แต่เต็มไปด้วยโซเดียม 5 ประเภทอาหาร ที่มีปริมาณโซเดียมแฝงอยู่ เครื่องปรุงรสทั้งที่มีรสเค็มและไม่มีรสเค็ม: …